Page 58 - tt
P. 58
-๕๔-
เพื่อรวบรวมเชื้อพันธุ์และองค์ความรู้สําหรับใช้ประโยชน์ในอนาคตและคงความหลากหลายทาง
พันธุกรรม มีการส่งเสริมมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ และมาตรการจูงใจในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์
จากความหลากหลายทางชีวภาพ สร้างกลไกการใช้ประโยชน์ในระดับท้องถิ่นอย่างยั่งยืน และพัฒนา
ระบบการแบ่งปันผลประโยชน์ รวมถึงพัฒนาและบังคับใช้มาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
เช่น ส่งเสริมพัฒนาและการใช้แนวคิดผู้ได้รับผลประโยชน์เป็นผู้จ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวคิด
การเก็บค่าบริการเชิงนิเวศในการบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมทั้งการศึกษา สํารวจ
และวิจัยด้านความหลากหลายทางชีวภาพในระบบนิเวศที่มีความสําคัญ ทั้งในและนอกพื้นที่คุ้มครอง
โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง และพื้นที่วิกฤต เพื่อพัฒนาและเชื่อมโยง
ระบบฐานข้อมูลให้ได้มาตรฐาน สะดวกต่อการเข้าถึงและนําไปใช้ประโยชน์ และการส่งเสริมการเกษตร
ที่ช่วยอนุรักษ์ฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพ
๔.๑.๓ อนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ําลําคลองและแหล่งน้ําธรรมชาติทั่วประเทศ โดยฟื้นฟู
แม่น้ําลําคลองและการป้องกันตลิ่งและฝายชะลอน้ํา มีการวางแผนการอนุรักษ์และฟื้นฟูแหล่งน้ํา
บนพื้นฐานของการรักษาสมดุลนิเวศ ส่งเสริมกลไกการมีส่วนร่วมในการบริหารการจัดการอนุรักษ์
และพัฒนาแม่น้ํา คู คลองและแหล่งน้ําธรรมชาติ มีระบบรวบรวมและบําบัดน้ําเสีย ระบบเก็บขน
และกําจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลของชุมชนให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาล สนับสนุนให้มีโครงข่าย
การสัญจรทางน้ําที่สะดวก ปลอดภัย ประหยัดและมีประสิทธิภาพ ส่งเสริม สนับสนุนให้ประชาชน
องค์กรเอกชน เอกชน มีความรู้ความเข้าใจ ความตระหนักต่อคุณค่าและความสําคัญของแม่น้ํา คู คลอง
๔.๑.๔ รักษาและเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยหยุดยั้งการบุกรุก
ทําลายพื้นที่ป่า โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงต่อการถูกบุกรุก
มีการบริหารจัดการเชิงพื้นที่และมีการบูรณาการทุกหน่วยงานในการเฝ้าระวังและป้องกันการบุกรุกป่า
ส่งเสริมการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าธรรมชาติที่เสื่อมโทรม พื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย พื้นที่ป่าต้นน้ํา
บนพื้นที่สูงชัน และพื้นที่แนวกันชน ส่งเสริมการเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเขตเมืองและชุมชน ส่งเสริมการใช้
ประโยชน์พื้นที่ต้นน้ําที่เหมาะสมและไม่เกิดผลกระทบโดยกําหนดสิทธิชุมชนที่เข้าไปใช้ประโยชน์จากป่า
จะต้องคํานึงถึงความเปราะบางของระบบนิเวศ ขีดจํากัด และศักยภาพในการฟื้นตัว เพื่อให้ชุมชน
มีความรู้สึกหวงแหน เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ และมีการปลูกป่าเพิ่มขึ้นตามหลักการผู้ได้รับ
ประโยชน์จากป่าเป็นผู้ดูแลป่า ส่งเสริมปลูกป่าเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมจากป่าปลูกแบบครบวงจร
สร้างกลไกหรือระบบตัดฟันระยะยาวที่ถูกต้องตามหลักวิชาการและกฎหมายสําหรับพื้นที่ที่อยู่นอกเขต
พื้นที่ป่าไม้และพื้นที่ของเอกชน โดยให้สามารถนํามาใช้ประโยชน์ควบคู่กับการส่งเสริมการวิจัย
และพัฒนาเพื่อสามารถระบุแหล่งกําเนิดของไม้ และป้องกันการลักลอบนําไม้ออกจากป่า รวมถึง
การสร้างและพัฒนาพื้นที่สีเขียวเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและการเรียนรู้ทางธรรมชาติในเขตชุมชนเมือง
และชนบทเพื่อให้ประชาชนได้ประโยชน์และรู้สึกใกล้ชิดธรรมชาติ เกิดความรู้สึกหวงแหน เกิดจิตสํานึก
ในการอนุรักษ์และได้รับความสุขจากทรัพยากรธรรมชาติ พร้อมทั้งการแก้ไขปัญหาชุมชนที่ทํากินในเขตป่า
โดยเน้นการใช้ประโยชน์ที่ไม่เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบคนอยู่กับป่าอย่างยั่งยืน การจัดทํา
แผนที่แนวเขตพื้นที่สีเขียว ที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และจัดทําฐานข้อมูลพื้นที่สีเขียวรายจังหวัด