Page 57 - tt
P. 57

-๕๓-



                       ๒.๓  ใช้ประโยชน์และสร้างการเติบโต บนฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สมดุล

               ภายในขีดความสามารถของระบบนิเวศ

                       ๒.๔  ยกระดับกระบวนทัศน์ เพื่อกําหนดอนาคตประเทศด้านทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

               และวัฒนธรรม บนหลักของการมีส่วนร่วม และธรรมาภิบาล

               ๓.  ตัวชี้วัด

                       ๓.๑  พื้นที่สีเขียวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                       ๓.๒  สภาพแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติที่เสื่อมโทรมได้รับการฟื้นฟู

                       ๓.๓  การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม


                       ๓.๔  ปริมาณก๊าซเรือนกระจก มูลค่าเศรษฐกิจฐานชีวภาพ

               ๔.  ประเด็นยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อ

                      สิ่งแวดล้อม


                       ๔.๑  สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจสีเขียว มุ่งเน้นการพัฒนาสังคม
               เศรษฐกิจให้เติบโตและมีความเป็นธรรมบนความสมดุลของฐานทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพ
               สิ่งแวดล้อมที่ดี ด้วยเศรษฐกิจฐานชีวภาพ นําไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิต เพิ่มความเป็นธรรม

               ทางสังคม สามารถลดความเสี่ยงของผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและลดปัญหาความขาดแคลนของ

               ทรัพยากรลงได้ โดยมีเป้าหมายสู่สังคมที่มีระดับคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้นแต่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่ําลง
               ผ่านแนวทางและมาตรการต่าง ๆ เช่น การบริโภคและการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพิ่มพื้นที่
               สีเขียวและป่าไม้ รักษาฐานทรัพยากรสัตว์ป่าและความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งเสริมให้สิ่งแวดล้อม

               มีคุณภาพดีขึ้น คนมีความรับผิดชอบต่อสังคม มีความเอื้ออาทร และเสียสละเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวม

               ของชาติ

                              ๔.๑.๑  เพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านการ
               สร้างความสามารถในการแข่งขัน โดยส่งเสริมและสร้างเศรษฐกิจฐานชีวภาพอุบัติใหม่ และส่งเสริม

               การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีคุณภาพ

                              ๔.๑.๒  อนุรักษ์และฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพในและนอกถิ่นกําเนิด

               โดยเฉพาะสัตว์ป่าและพันธุ์พืชที่ใกล้สูญพันธุ์ โดยลดอัตราการสูญเสียชนิดพันธุ์ที่ถูกคุกคาม ชนิดพันธุ์
               เฉพาะถิ่น และแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ ตลอดจนควบคุมชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีผลกระทบต่อ
               ระบบนิเวศ โดยอนุรักษ์พื้นที่ป่าไม้ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ชนิดพันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืช

               เฉพาะถิ่น สัตว์ป่าและพันธุ์พืชหายากและใกล้สูญพันธุ์ให้เป็นฐานทรัพยากรที่มั่นคง ควบคู่กับการลด

               ภัยคุกคามและ การบริหารจัดการไม่ให้เกิดความขัดแย้งระหว่างสัตว์ป่ากับคนและชุมชน รวมถึง
               การสร้างระบบฐานข้อมูลในรูปแบบธนาคารพันธุกรรม โดยให้ความสําคัญกับพันธุกรรมท้องถิ่นที่มี
               คุณค่าต่อระบบนิเวศและ/หรือมีความสําคัญทางเศรษฐกิจและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62