Page 59 - tt
P. 59
-๕๕-
การส่งเสริมการบริหารจัดการพื้นที่ป่าชุมชนและป่าครอบครัวแบบมีส่วนร่วม การสร้างเครือข่าย
ภาคประชาชนทุกระดับอายุให้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
๔.๑.๕ ส่งเสริมการบริโภคและการผลิตที่ยั่งยืน โดยส่งเสริมการบริโภคและการผลิต
สีเขียวอย่างยั่งยืน ซึ่งรวมถึงการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคและการผลิต
วิธีคิดและวิถีชีวิตของบุคคลและองค์กรให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพ
มากที่สุด การสร้างการมีจิตสํานึกในการผลิตที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรม
การบริโภคอย่างพอเพียงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การใช้กลไกทางเศรษฐศาสตร์และมาตรการ
ทางสังคมจูงใจผู้บริโภคและผู้ผลิต การสร้างระบบและกลไกการเฝ้าระวัง ติดตาม ตรวจสอบ
และควบคุมมลพิษในภาคการผลิต และการใช้มาตรการการตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มา
ของวัตถุดิบ พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการลดขยะเป็นศูนย์ จัดการขยะแบบเบ็ดเสร็จยั่งยืน การลดการปล่อย
มลพิษและผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งรวมถึงการจัดการการปล่อยมลพิษจากภาคการผลิตเพื่อขับเคลื่อน
เศรษฐกิจควบคู่กับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพมีมลพิษต่ําโดยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตร
ต่อสิ่งแวดล้อม การมีระบบจัดการของเสียจากแหล่งกําเนิดมลพิษทุกประเภทที่เพียงพอและมีการจัดการ
มลพิษได้เป็นไปตามมาตรฐาน มีการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ประกอบการอย่างเคร่งครัด รวมทั้ง
การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกด้วยการวิจัย
พัฒนาวัตถุดิบและเทคโนโลยี การเพิ่มศักยภาพการผลิต การใช้ และตลาด ตลอดจนการสร้างจิตสํานึก
และเข้าถึงองค์ความรู้ด้านพลังงาน พร้อมทั้งการส่งเสริมการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวทั้งระบบ ซึ่งรวมถึงการ
สนับสนุนให้ทุกหน่วยงานของรัฐมีการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่ได้รับการรับรองผลิตภัณฑ์
ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การส่งเสริมให้ภาคเอกชนใช้สินค้าและบริการจากผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อ
สิ่งแวดล้อม การส่งเสริมการบริโภคที่ยั่งยืน โดยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
พร้อมทั้งมีการส่งเสริมและพัฒนาเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ดําเนินการเพื่อรองรับ
การปลูกป่าและเพิ่มพื้นที่สีเขียวในพื้นที่เอกชน การปรับปรุงกลไกรัฐเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของประชาชนและภาคเอกชน
๔.๒ สร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมเศรษฐกิจภาคทะเล มุ่งเน้นการให้ความสําคัญ
กับการสร้างการเติบโตของประเทศจากกิจกรรมทางทะเลที่หลากหลายควบคู่ไปกับการดูแล
ฐานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทั้งหมด ภายใต้อํานาจและสิทธิประโยชน์ของประเทศที่พึงมีพึงได้
เพื่อความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ําทางสังคม โดยมุ่งเน้นการถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องทะเล
ที่ถูกต้องและเพียงพอ เพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเล ปรับปรุงและฟื้นฟูทรัพยากร
ทางทะเลและชายฝั่งทั้งระบบ พัฒนาและเพิ่มสัดส่วนกิจกรรมทางทะเลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
๔.๒.๑ เพิ่มมูลค่าของเศรษฐกิจฐานชีวภาพทางทะเล โดยเสริมสร้างความสามารถ
ในการแข่งขันของประเทศในด้านต่าง ๆ ตามแนวทางเศรษฐกิจภาคทะเลให้มีบทบาทเป็นที่ยอมรับ
ในกลุ่มประเทศอินโดจีนและประชาคมอาเซียน เร่งลดความเหลื่อมลํ้าในการเข้าถึงทรัพยากร กระจาย
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นให้ทั่วถึง เพื่อยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของประชาชน พร้อมทั้งส่งเสริม