Page 69 - เนื้อหา
P. 69
จากการด าเนินงานของบริษัทมหาชนจ ากัดนั้น อาจมีนโยบายในการขยายงานหรือต้องการ
เงินทุนที่จะน าไปบริหารงานเพื่อให้ผลการด าเนินงานบรรลุเป้าหมายตามที่ก าหนด เมื่อเป็นเช่นนี้จึงมี
ความจ าเป็นในการใช้เงินทุนจ านวนมาก ดังนั้นหุ้นกู้จึงเป็นแหล่งเงินทุนที่ส าคัญของบริษัทมหาชน
จ ากัด อีกแหล่งหนึ่ง
1. ควำมหมำยของหุ้นกู้และข้อปฏิบัติในกำรออกหุ้นกู้
ควำมหมำยของหุ้นกู้
หุ้นกู้ (Bonds Payable) ตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 ได้
ให้ความหมายไว้ว่า หุ้นกู้ หมายถึง ตราสารแห่งหนี้ ไม่ว่าจะเรียกชื่อใดที่แบ่งเป็นหน่วยแต่ละหน่วย มี
มูลค่าเท่ากันและก าหนดประโยชน์ตอบแทนไว้เป็นการล่วงหน้า ในอัตราเท่ากันทุกหน่วยโดยบริษัท
ออกให้แก่ผู้ให้กู้ยืมหรือผู้ซื้อ เพื่อแสดงสิทธิจะได้รับเงินหรือผลประโยชน์อื่นของผู้ถือตราสารดังกล่าว
แต่ไม่รวมถึงตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1229 ซึ่งได้ก าหนดไว้ว่าบริษัท
จ ากัดออกหุ้นผู้ไม่ได้ แต่บริษัทมหาชนจ ากัด ตามมาตรา 145 ได้ก าหนดว่าในการกู้เงินของบริษัทได้
โดยการออกหุ้นกู้เพื่อเสนอขายต่อประชาชน แต่ต้องเป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์
ข้อปฏิบัติในกำรออกหุ้นกู้
ในการออกหุ้นกู้บริษัทมหาชนจ ากัด จะต้องถือปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด
หลักทรัพย์ และยังต้องปฏิบัติตามประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข
ในการจัดส่งเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นหรือหุ้นกู้ต่อประชาชนของผู้เริ่มจัดตั้งบริษัทมหาชน
จ ากัด และบริษัทมหาชนจ ากัดต่อนายทะเบียน ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2543) และต้องปฏิบัติต่อ
พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจ ากัด พ.ศ. 2535 โดยสรุปได้ดังนี้
1. ต้องมีมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ด้วยคะแนนเสียง ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4
2. ต้องได้รับการอนุญาตจากคณะกรรมการ ก.ล.ต.
3. ต้องส่งเอกสารเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นกู้หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ ต่อประชาชนทั่วไปที่จะต้อง
จัดท าส่งให้ส านักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์และ
ส่งให้แก่นายทะเบียนหนึ่งชุดภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ส่งให้ส านักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต.
4. มูลค่าหุ้นกู้ต้องไม่ต่ ากว่า 100 บาท และต้องช าระค่าหุ้นกู้เป็นเงินสดเท่านั้น
~ 65 ~