Page 48 - โครงการ_Neat
P. 48
- 46 -
เช่าซื้อกับเช่าทรัพย์
เช่าซื้อมีข้อตกลงเรื่องการขายสินค้าหรือให้สิทธิตกแก่ผู้เช่าซื้อในภายหลัง
แต่เช่าทรัพย์ไม่มี เช่น หากไปเช่าซื้อรถแท็กซี่ จะมีข้อกําหนดว่าหากจ่ายเงิน
ครบ 5 ปี ก็ให้กรรมสิทธิ์เป็นของผู้เช่าซื้อ แต่ในเข่าทรัพย แม้จ่ายเงินไปนาน
เพียงใดก็ไม่ได้สิทธิในทรัพย์มาเป็นของตน
เช่าซื้อกับขายผ่อนส่ง
เช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าและมีการขายในภายหลัง ดังนั้นในขณะที่เป็นการเช่า
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์จึงยง ไม่โอนไปยังผู้เช่าซื้อจนกว่าจะมีการขาย แต่การขาย
ผ่อนส่งนั้น เมื่อเป็นการซื้อขายกรรมสิทธิ์ในสินค้า จะโอนไปยังผู้ซื้อแล้ว และผู้
ซื้อค่อยชําระเงินเป็นงวดๆ ไป (กรณีไม่มีข้อตกลงเป็นอย่างอื่น)
แบบของสัญญำเช่ำซื้อ
การเช่าซื้อกฎหมายกําหนดแบบของสัญญาเช่าซื้อเอาไว้ดังนั้นแล้วสัญญา
เช่าซื้อคู่สัญญาจะตกลง กันด้วยวาจาไม่ได้ แต่จะต้องทําตามแบบโดยกฎหมาย
กําหนดแบบของสัญญาเช่าซื้อไว้คือจะต้องทําเป็น หนังสือลงลายมือชื่อทั้งสอง
ฝ่ายและเมื่อหนังสือนี้เป็นเรื่องแบบ หากไม่ทําตามแบบผลจะเป็นโมฆะ
ค ําพิพากษาฎีกาที่ 8703/2543 ป.พ.พ. มาตรา 572 วรรค 2 ได้บัญญัติว่า “สัญญา
เช่าซื้อนั้น ถ้าไม่ทําเป็นหนังสือ ท่านว่าเป็นโมฆะ” ย่อมมีความหมายว่าคู่สัญญา
ต้องลงลายมือชื่อในสัญญาเช่าซื้อ ทั้งสองฝ่าย ถ้าฝ่ายใดมิได้ลงลายมือชื่อใน
หนังสือสัญญา จะถือว่าฝ่ายนั้นทําหนังสือสัญญาด้วยมิได้
กำรผิดนัดไม่ใช้เงินตำมสัญญำเช่ำซื้อ
กฎหมายได้วางหลักเกี่ยวกับการผิดนัดสัญญาเช่าซื้อไว้ว่า “ในกรณีผิดนัด
ไม่ใช้เงิน 2 คราวติดกัน หรือกระทําผิดสัญญาในข้อที่เป็นส่วนสําคัญ เจ้าของ
ทรัพย์สินจะบอกเลิกสัญญาเสียก็ได้ ถ้าเช่นนั้นบรรดา เงินที่ได้ใช้มาแล้วแต่ก่อน