Page 141 - เอกสารฝนหลวง
P. 141

ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ                                                                            เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง



                                                     สิทธิบัตรฝนหลวง



                              เทคโนโลยีฝนหลวงมีวิวัฒนาการมาอย่างยาวนาน  นับแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                       ภูมิพลอดุลยเดช ทรงเกิดประกายความคิดว่า “ทําอย่างไรจะรวมเมฆให้เกิดเป็นฝนตกลงสู่พื้นที่แห้งแล้ง”
                       เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2498  ในระหว่างเสด็จเยือน 15 จังหวัดในภาคอีสาน วันที่ 2 – 20

                       พฤศจิกายน พ.ศ. 2498  ซึ่งทรงระบุว่า ความคิดนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการฝนหลวงในปัจจุบัน
                       จากบัดนั้นเป็นต้นมา “ทรงค้นคว้าวิจัยและทบทวนเอกสารจาก ตําราวิชาการ เอกสารอ้างอิง รายงานผล

                       การทดลองต่างประเทศ และข้อสังเกตต่างๆ ที่เป็นข้อมูลที่ทรงบันทึกไว้ในแผนที่ และภาพถ่าย

                       ระหว่างที่เสด็จพระราชดําเนินทรงเยี่ยมเยือนราษฎรทั่วภูมิภาคของประเทศ”   จนทรงเชื่อมั่นถึง
                       ความเป็นไปได้ที่จะประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีการทําให้เกิดฝนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

                       และทรงกําหนดเป็นข้อสมมติฐานที่ทรงคาดหวังผลไว้อย่างชัดเจน  ตั้งแต่การปฏิบัติการค้นคว้าทดลอง
                       การทําฝนบนท้องฟ้าเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 19–20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512   การปฏิบัติการค้นคว้าทดลอง

                       การประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีการทําฝน  ควบคู่กับการปฏิบัติการฝนหลวงหวังผล
                       ช่วยเหลือราษฎรตามการทูลเกล้าถวายฎีกาและการร้องเรียนได้อย่างสัมฤทธิ์ผล  และก้าวหน้ายิ่งขึ้น

                       อย่างต่อเนื่องมาตามลําดับ   สื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศได้เผยแพร่ความสําเร็จในการประดิษฐ์คิดค้น
                       และการปฏิบัติการทําฝนสู่ความรับรู้ของสาธารณชนในประเทศอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง

                       โดยเฉพาะเกษตรกรและชาวชนบทผู้ยากไร้ที่อยู่ในท้องถิ่นทุรกันดารและห่างไกลในทุกภาคส่วน
                       ของประเทศ  รวมทั้งได้รับการเผยแพร่ออกไปยังนานาประเทศที่มีกิจกรรมการดัดแปรสภาพอากาศ

                       และองค์การอุตุนิยมวิทยาโลก  ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งที่เป็นประเทศและเขตปกครองพิเศษรวม

                       187 ประเทศ  โดยเฉพาะเมื่อทรงพระกรุณาอํานวยการปฏิบัติการสาธิตการทําฝน ด้วยขั้นตอนกรรมวิธี
                       และเทคโนโลยีในขณะนั้น  ทรงพระกรุณาถ่ายทอดความเชี่ยวชาญและประสบการณ์แก่คณะ

                       นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ด้วยพระองค์เองเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2515  ณ  สันเขื่อนอ่างเก็บนํ้า
                       แก่งกระจาน อําเภอชะอํา จังหวัดเพชรบุรีทรงสามารถบังคับฝนตกลงสู่พื้นผิวนํ้าของอ่างเก็บนํ้าแก่งกระจาน

                       ซึ่งทรงกําหนดให้เป็นเป้าหมายหวังผลที่มีขนาดเล็กที่สุด  จึงเป็นเป้าหมายที่ท้าทายและยากลําบาก
                       ต่อการชักนําและบังคับให้ฝนตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายดังกล่าวได้อย่างแม่นยํา  เป็นที่ประทับใจและ

                       อัศจรรย์ใจแก่คณะนักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์ข้าราชการบริพารชั้นสูง  ทั้งที่เป็นข้าราชการสํานัก และ
                       ข้าราชการที่เข้าเฝ้าฯ  สังเกตการณ์อยู่ในขณะนั้นเป็นอย่างยิ่ง


                              จนในปี พ.ศ. 2516 จากการปฏิบัติการค้นคว้าทดลองและปฏิบัติการทําฝนที่สัมฤทธิ์ผลตาม
                       ขั้นตอนกรรมวิธีและเทคนิคการทําฝนด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์มาตามลําดับ  ตั้งแต่เริ่มต้น

                       ปฏิบัติการค้นคว้าทดลองในท้องฟ้าเป็นครั้งแรก พ.ศ. 2512 จนถึงการปฏิบัติการทําฝนสาธิตแก่
                       นักวิทยาศาสตร์สิงคโปร์  ในปี พ.ศ. 2515  ทรงประมวลผลสัมฤทธิ์เหล่านั้นดังกล่าว  และประดิษฐ์


                                                              85
   136   137   138   139   140   141   142   143   144   145   146