Page 144 - เอกสารฝนหลวง
P. 144

ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ                                                                            เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง


                       คุ้มครองสิทธิ์ทั่วโลก   ทรงมีพระบรมราชานุญาตและโปรดเกล้าฯ ให้ขอรับสิทธิบัตรในต่างประเทศ

                       ควบคู่ไปด้วย  จึงมีการดําเนินการจัดทําเอกสารประกอบแบบฟอร์มคําขอจดสิทธิบัตรภายใต้หัวข้อ
                       WEATHER  MODIFICATION  BY  RORAL  RAINMAKING  TECHNOLOGY  จากสํานักงาน

                       สิทธิบัตรแห่งสหรัฐอเมริกา  ทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย

                              “เทคโนโลยีฝนหลวง”  ได้รับการเผยแพร่และเป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์  องค์กรและ

                       สถาบันที่มีกิจกรรมการดัดแปรสภาพอากาศวิทยาศาสตร์บรรยากาศและอุตุนิยมวิทยาทั้งในระดับ
                       นานาชาติและระดับโลก เช่น องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก (WMO)  องค์การอาหารและการเกษตรแห่ง

                       สหประชาชาติ (FAO) เป็นต้น  จนทรงได้รับการทูลเกล้าฯ  ถวายรางวัล และประกาศพระเกียรติคุณ
                       จากองค์กรดังกล่าวโดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2544  องค์กรเอกชนระดับนานาชาติได้กราบบังคมทูลขอ

                       พระราชทานพระบรมราชานุญาตผ่านราชเลขาธิการ   และสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติให้ทํา

                       ผลงานประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีฝนหลวง (The Royal Rainmaking Technology) ไปร่วมจัดแสดง
                                                               Th
                       ในงานนิทรรศการ Brussels Eureka 2001: 50  Anniversary of The World Exhibition of
                       Innovation Research and New Technology  ณ กรุงบรัสเซลล์ ราชอาณาจักรเบลเยียม ระหว่าง

                       วันที่ 13–19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544  เป็นนิทรรศการระดับนานาชาติ   มีประเทศที่ส่งผลงานเข้าร่วม
                       23 ประเทศปรากฏว่าผลงานประดิษฐ์คิดค้น The Royal Rainmaking Technology เป็นหนึ่งในสาม

                       ผลงานที่ได้รับการทูลเกล้าฯถวายรางวัลยอดเยี่ยมอันเป็นเลิศ  เป็นนวัตกรรมใหม่  แนวคิดใหม่  และ

                       ทฤษฎีใหม่อันมีคุณประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศและไม่มีผู้ใดประดิษฐ์คิดค้นมาก่อน

                              ในโอกาสดังกล่าว  โปรดเกล้าฯ ให้สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาตินําผลงานประดิษฐ์

                       คิดค้นThe Royal Rainmaking Technology  ไปร่วมแสดงในงานนิทรรศการระดับนานาชาติดังกล่าว
                       และโปรดเกล้าฯ ให้นายดิสธร วัชโรทัย ผู้อํานวยการกองงานส่วนพระองค์ประสานงานให้สํานักงาน

                       คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติพิจารณาดําเนินการจดสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศในพระปรมาภิไธย
                       โดยใช้ต้นร่างที่ นายเมธา  รัชตะปีติ  ทูลเกล้าฯ ถวายไว้แล้วเป็นต้นแบบ

                              สํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะทํางาน 2 คณะคือ คณะทํางานในโครงการ

                       ดําเนินการจดทะเบียนสิทธิบัตรถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และคณะทํางานในโครงการดัดแปร

                       สภาพอากาศให้เกิดฝน เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545  ซึ่งคณะทํางานทั้งสองคณะได้ดําเนินการ
                       ยื่นคําขอสิทธิบัตรในพระปรมาภิไธยภายใต้ชื่อหัวข้อ  การดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนต่อกรมทรัพย์สิน
                       ทางปัญญาแห่งประเทศไทย  เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2545  จนได้รับสิทธิบัตรดังกล่าว  เมื่อวันที่

                       29  พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 และโปรดเกล้าฯ ให้นําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2546

                       (ดูรายนามคณะทํางานทั้งสองในภาคผนวก)






                                                              88
   139   140   141   142   143   144   145   146   147   148   149