Page 143 - เอกสารฝนหลวง
P. 143
ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง
แบบ Super Sandwich เทคโนโลยีฝนหลวงจึงได้รับการพัฒนาจาก 4 ขั้นตอนเป็น 6 ขั้นตอน
พร้อมทั้งทรงประดิษฐ์แผนภาพ (การ์ตูน) ด้วยคอมพิวเตอร์ด้วยพระองค์เองซึ่งรวมขั้นตอนกรรมวิธี
เทคนิคของเทคโนโลยีฝนหลวงทั้ง 6 ขั้นตอนไว้อย่างครบถ้วนในหนึ่งหน้ากระดาษพระราชทานให้
ใช้เป็น ตําราฝนหลวง (ดังแผนภาพตําราฝนหลวงพระราชทาน) ในการปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ
กู้ภัยแล้ง ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ช่วยให้สภาวะแห้งแล้งรุนแรงขั้นวิกฤติคืนเข้า
สู่สภาวะปกติในระยะเวลาอันสั้นอย่างสัมฤทธิ์ผลตามพระราชประสงค์ และยังใช้เป็นตําราฝนหลวง
อย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน
จึงนิยามได้ว่า ฝนหลวง คือ เทคโนโลยีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลปัจจุบัน
ทรงประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนาขึ้นมา และพระราชทานให้ใช้เป็นเทคโนโลยีในการดัดแปรสภาพอากาศ
ให้เกิดฝนจากเมฆอุ่น (Warm Cloud) และเมฆเย็น (Cool Cloud) ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
ที่กระทําด้วยความตั้งใจของมนุษย์ที่มีการวางแผนการปฏิบัติการหวังผลที่แน่นอน โดยการใช้สารฝน
หลวงที่ดูดซับความชื้นได้ดี (Hygroscopic Substance) เป็นตัวเร่งเร้าทั้งในบรรยากาศ หรือเมฆที่มี
อุณหภูมิสูงกว่าและตํ่ากว่าจุดเยือกแข็ง ให้กระบวนการเกิดฝนเกิดเร็วขึ้น ตั้งแต่กระบวนการเกิดเมฆ
(Cloud Formation) การเจริญของเมฆ (Cloud Growth) การเริ่มต้นให้ฝนตก (Rain Initiation)
การยืดอายุการตกของฝนให้นานขึ้น (Prolonging of rain duration) ให้ฝนตกกระจายอย่างทั่วถึง
(Rain Redistribution) และชักนําฝนให้ตกลงสู่พื้นที่เป้าหมายที่กําหนด (Designated Target area)
ได้อย่างแม่นยําและแผ่อาณาเขตครอบคลุมอาณาเขตเป็นบริเวณกว้างมากกว่าที่จะปล่อยให้เกิดขึ้นเอง
ตามธรรมชาติ
เมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษกู้ภัยแล้ง พ.ศ. 2542 ด้วยตําราฝนหลวงพระราชทาน
(หรือ Royal Rainmaking Technology) ทรงเห็นสมควรให้ขอจดทะเบียนสิทธิบัตรเทคโนโลยีฝนหลวง
และเทคนิคต่างๆ ที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเทคนิคในการโจมตีแบบ
Super Sandwich Technique ที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาเป็นนวัตกรรมใหม่ล่าสุด เพื่อเสริมการ
ประยุกต์ขั้นตอนต่างๆ ของเทคโนโลยีฝนหลวงสัมฤทธิ์ผล รวมทั้งแผนภาพ (การ์ตูน) ตําราฝนหลวง
พระราชทาน โปรดเกล้าฯ ให้นายดิสธร วัชโรทัย (ผู้อํานวยการกองงานส่วนพระองค์) มอบให้
นายเมธา รัชตะปิติ ที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง (อดีตผู้อํานวยการสํานักงานปฏิบัติการฝนหลวง)
ให้จัดทําเอกสารทางวิชาการประกอบแบบฟอร์มคําขอจดทะเบียนสิทธิบัตร ซึ่งได้ดําเนินการจัดทํา
เอกสารพร้อมแบบฟอร์มคําขอจดทะเบียนสิทธิบัตรทูลเกล้าฯ ถวาย เพื่อทรงมีพระบรมราชวินิจฉัย
และลงพระปรมาภิไธยในแบบฟอร์มคําขอจดสิทธิบัตรภายใต้ชื่อ การดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝน
ในฐานะทรงเป็นผู้ประดิษฐ์คิดค้นเมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2542 เสนอต่อสํานักสิทธิบัตร กรมทรัพย์สิน
ทางปัญญาแห่งประเทศไทย ระหว่างรอพระบรมราชวินิจฉัย เห็นว่าการจดสิทธิบัตรในประเทศ
ได้รับการคุ้มครองสิทธิในประเทศไทยเท่านั้น สมควรจดสิทธิบัตรในต่างประเทศเพื่อให้ได้รับการ
87