Page 145 - เอกสารฝนหลวง
P. 145
ประมวลและยืนยันผลสัมฤทธิ์ฯ เอกสารเฉลิมพระเกียรติฝนหลวง
สําหรับในต่างประเทศได้ดําเนินการยื่นคําขอสิทธิบัตรภายใต้ชื่อ Weather Modification
By Royal Rainmaking Technology ต่อสํานักงานสิทธิบัตรยุโรป เมื่อวันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2546
และสํานักงานสิทธิบัตรแห่งสหรัฐอเมริกาในปีเดียวกัน จนได้รับสิทธิบัตรจากสํานักสิทธิบัตรยุโรป
ที่ออกให้ เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2548 และโปรดเกล้าฯ ให้นําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระเทพ
รัตนราชสุดาผู้แทนพระองค์ เมื่อวันที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2548 พร้อมทั้งสิทธิบัตรภายใต้ชื่อเดียวกัน
ที่ออกให้ โดยสํานักงานสิทธิบัตรแห่งเขตปกครองพิเศษฮ่องกง สาธารณะรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่
7 เมษายน พ.ศ. 2549 และในปี พ.ศ.2546 เดียวกัน ได้ดําเนินการยื่นคําขอจดสิทธิบัตรต่อสํานักงาน
สิทธิบัตรแห่งสหรัฐอเมริกา จนได้รับการลงทะเบียนคําขอสิทธิบัตร และได้รับการคุ้มครองคําขอจด
สิทธิบัตรไว้แล้วขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบและพิจารณาออกสิทธิบัตรให้
นอกจากนั้นสํานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติกําลังพิจารณาดําเนินการที่จะยื่นคําขอสิทธิบัตร
ต่อสํานักงานสิทธิบัตรในประเทศอื่นๆ ที่สําคัญ และจําเป็นเพื่อให้เทคโนโลยีฝนหลวงได้รับการคุ้มครอง
สิทธิให้มากที่สุดในโลกเท่าที่จะทําได้
อย่างไรก็ดีการยื่นคําขอจดสิทธิบัตรต่อสํานักงานสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศดังกล่าว
ต่างมีขั้นตอนและกระบวนการตรวจสอบ และค้นหากับสํานักงานสิทธิบัตรทั่วโลกว่ามีการซํ้าซ้อน
หรือมีการจดสิทธิบัตรมาก่อนหรือไม่ เป็นนวัตกรรมใหม่หรือเป็นแนวคิดใหม่หรือไม่ ฉะนั้นสิทธิบัตร
ที่ได้รับจากสํานักงานสิทธิบัตรต่างประเทศแล้วดังกล่าว จึงได้รับการกลั่นกรองและเผยแพร่สู่การรับรู้
ของสํานักงานสิทธิบัตรทั่วโลกโดยปริยาย โดยเฉพาะประเทศสมาชิกขององค์การอุตุนิยมวิทยาโลก
181 ประเทศ นอกจากนั้นพระอัจฉริยภาพพระปรีชาสามารถและสติปัญญาอันเป็นเลิศเป็นที่ประจักษ์
เทคโนโลยีฝนหลวง และเทคนิคเสริมที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นมาซึ่งเป็นข้ออ้างสิทธิซึ่งปรากฎอยู่ใน
เอกสารประกอบการขอจดทะเบียนสิทธิบัตรครอบคลุมขั้นตอนกรรมวิธีกระบวนการดัดแปรสภาพอากาศ
ให้เกิดฝนไว้อย่างครอบคลุมและครบถ้วน ยากที่จะมีผู้ใดจะยื่นคําขอสิทธิบัตรซํ้าซ้อนหรือลอกเลียนแบบ
ได้ในรอบ 5 ทศวรรษในอนาคต
สิทธิบัตร ภายใต้ชื่อการดัดแปรสภาพอากาศให้เกิดฝนที่นําขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายวันที่ 2 มิถุนายน
2546 ทรงมีพระราชกระแสในวันที่โปรดเกล้าฯ ให้รัฐบาลเข้าเฝ้าฯ ถวายสิทธิบัตรฝนหลวง พ.ศ. 2546
ว่า “สิทธิบัตรนี้......เราคิดเอง......คนไทยทําเอง......เป็นของคนไทย.......มิใช่เพื่อพระเจ้าอยู่หัว......
ทําฝนนี้ทําสําหรับชาวบ้าน.....สําหรับประชาชน......ไม่ใช่ทําสําหรับพระเจ้าอยู่หัว.......พระเจ้าอยู่หัว
อยากได้นํ้า ก็ไปเปิดก๊อกเอานํ้ามาใช้ อยากได้นํ้าสําหรับการเพาะปลูกก็ไปสูบนํ้าจากคลองชลประทานได้
แต่ชาวบ้านชาวนาที่ไม่มีโอกาสมีนํ้าสําหรับเกษตรก็ต้องอาศัยฝน ฝนไม่มีก็ต้องอาศัยฝนหลวง”
สิทธิบัตรฝนหลวงที่ทรงได้รับจึงเป็นเครื่องยืนยันถึงพระมหากรุณาธิคุณอันล้นพ้นหาที่สุดมิได้
อันเปี่ยมด้วยพระเมตตาและนํ้าพระราชหฤทัยที่ทรงห่วงใยต่อปัญหาทุกข์ยาก และเดือดร้อนเสียหาย
อันเนื่องมาจากมหันตภัยแล้งของราษฎรโดยถ้วนหน้า ต่างตระหนักถึงพระราชวิริยะ อุตสาหะ ทรงเสี่ยงภัย
89