Page 46 - 07_ความรเบยงตนเกยวกบกฎหมาย_Neat
P. 46

๓๗




                                       (๑)  นิติกรรมที่เปนประโยชนแกผูเยาวแตเพียงฝายเดียว (มาตรา ๒๒) เชน
                 ผูเยาวไดรับสิ่งของมีคาจากบุคคลอื่นซึ่งเปนลักษณะของการใหโดยไมมีภาระติดพันหรือเงื่อนไขใดๆ

                 สัญญาใหนี้ยอมสมบูรณ ผูแทนโดยชอบธรรมไมตองใหความยินยอม
                                       (๒)  นิติกรรมที่ผูเยาวตองทําเองเฉพาะตัว (มาตรา ๒๓) เชน การที่ผูเยาว
                 เปนบิดาของบุตร ผูเยาวตองไปจดทะเบียนรับรองบุตรเองโดยไมตองไดรับความยินยอมของผูแทน

                 โดยชอบธรรม
                                       (๓)  นิติกรรมที่จําเปนในการดํารงชีพของผูเยาว (มาตรา ๒๔) ซึ่งรวมถึง

                 กิจการปกติที่ผูเยาวจําเปนตองกระทําโดยพิจารณาจากฐานะของผูเยาว เชน การที่ผูเยาวเปนลูกเศรษฐี
                 อาจสั่งอาหารจากภัตตาคารที่มีชื่อเสียงมารับประทานได แตถาเปนลูกที่พอแมหาเชากินคํ่า หากทํา

                 เชนนี้ถือไดวานิติกรรมยอมไมสมบูรณ
                                       (๔)  ผูเยาวมีอํานาจทําพินัยกรรมไดเมื่อมีอายุครบ ๑๕ ปบริบูรณ ซึ่งเปนเรื่องที่

                 ผูเยาวจะตองทําเองเปนกิจการเฉพาะตัวผูเยาว (มาตรา ๒๕) ถาผูเยาวทําพินัยกรรมกอนอายุครบ
                 ๑๕ ปบริบูรณ พินัยกรรมนั้นยอมตกเปนโมฆะ ตามมาตรา ๑๗๐๓
                                  ๒)  คนไรความสามารถ คือ คนวิกลจริตที่ศาลไดมีคําสั่งใหเปนคนไรความสามารถ

                 ตามมาตรา ๒๘ และเมื่อศาลสั่งใหบุคคลใดเปนคนไรความสามารถแลวตองจัดใหบุคคลนั้นอยูในความ
                 อนุบาล (มาตรา ๒๘ วรรค ๒) และนิติกรรมที่คนไรความสามารถไดทําลงมีผลเปนโมฆียะ (มาตรา ๒๙)

                 ยกเวนการทําพินัยกรรม ถาคนไรความสามารถไดทําลงมีผลเปนโมฆะ ตามมาตรา ๑๗๐๔ จะเห็น
                 ไดวาคนไรความสามารถนี้ถูกศาลตัดสิทธิและอํานาจในการทํานิติกรรมโดยสิ้นเชิง ผูอนุบาลตอง

                 เปนผูกระทํานิติกรรมใดๆ ในนามของคนไรความสามารถทั้งสิ้น
                                  ๓)  คนเสมือนไรความสามารถ คือ ผูที่มีเหตุบกพรองบางประการ เชน รางกาย

                 พิการ ตาบอดทั้งสองขาง หรือเปนใบ หรือหูหนวก หรือคนที่มีอาการคุมดีคุมรายไมถึงกับเปนคน
                 วิกลจริตหรือเปนคนสุรุยสุรายใชจายเงินฟุมเฟอยไมทํามาหากิน บุคคลเหลานี้ไมสามารถจัดทําการงาน
                 ของตนเองได หรือทําแลวอาจทําใหเสียหายแกทรัพยสินของตนเองหรือครอบครัว เมื่อผูมีสวนไดเสีย

                 หรือพนักงานอัยการรองขอศาลจะใชดุลยพินิจสั่งใหเปนคนเสมือนไรความสามารถ และใหอยูในความ
                 ดูแลของผูพิทักษ

                                  คนเสมือนไรความสามารถนั้นโดยหลักแลวมีความสามารถทํานิติกรรมไดโดยลําพัง
                 เชน การทําพินัยกรรม การรับจาง ยกเวนในบางกรณีตามที่บัญญัติไวในมาตรา เชน การนําทรัพยสิน
                 ไปลงทุน ไมวาจะเปนสวนของเงินทุนหรือดอกผลก็ตาม ตองไดรับความยินยอมจากผูพิทักษกอน

                 ถาฝาฝนยอมมีผลเปนโมฆียะ
                             ò. ¹ÔμԺؤ¤Å

                                 นิติบุคคลเปนบุคคลอีกประเภทหนึ่งที่ประมวลกฎหมายแพงและพาณิชยและกฎหมาย
                 อื่นใด กําหนดใหมีสภาพบุคคล ดังที่บัญญัติไวในมาตรา ๖๕ วา “นิติบุคคลจะมีขึ้นไดก็แตดวยอาศัย

                 อํานาจแหงประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น”
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51