Page 95 - โครงการ เรื่อง การบัญชีการเงิน
P. 95

84







                       หนี้สงสัยจะสูญ หนี้สูญและหนี้สูญได้รับคืน


                                                   ื่
                                                      ู
                              การดำเนินธุรกิจขายเชอ ลกหนี้บางรายที่กิจการขายสินค้าให้อาจไม่ชำระหนี้ตาม
                       กำหนดเงื่อนไขที่ได้ตกลงกันไว้ อันเป็นปกติของการดำเนินธุรกิจ ในทางปฏิบัติกิจการจะ

                       ทราบแน่ชัดว่าลูกหนี้รายใดเก็บเงินไม่ได้ต่อเมื่อครบกำหนดชำระหนี้และได้ติดตามทวงถาม
                       จนถึงที่สุดแล้ว



                       การบัญชีเกี่ยวกับลูกหนี้เก็บเงินไม่ได้มี 2 วิธ คือ
                                                               ี

                          1.  วิธีตัดจำหน่ายโดยตรง (Direct Write-off Method) จะบันทึกตัดลูกหนี้เป็น

                              ค่าใช้จ่ายในงวดบัญชีที่เกิดหนี้สูญ โดย



                                     เดบิต   หนี้สูญ                                   XX


                                            เครดิต         ลูกหนี้                             XX






                                                                                                      ั
                              บัญชีหนี้สูญจัดอยู่ในหมวดค่าใช้จ่ายจะโอนปิดเข้าบัญชีสรุปผลกำไรขาดทุนในวน
                       สิ้นงวดถึงแม้ว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีที่ง่ายและสะดวก แต่ไม่เป็นที่นิยมปฏิบัติ


                          2.  วิธีตั้งค่าเผื่อ (Allowance Method) โดยจะมีการประมาณลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บ
                              เงินไม่ได้ไว้ในบัญชีค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ (Allowance for Doubtful Accounts)

                              อันเป็นบัญชีปรับมูลค่า (Valuation Account) ลูกหนี้ที่ปรากฏในงบการเงินจะ

                              แสดงยอดที่มีค่าใกล้เคียงกับความเป็นจริงโดยนำยอดลูกหนี้ทั้งหมด หักด้วยยอด

                              ค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ วิธีนี้เป็นที่ยอมรับและถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป การประมาณ

                              ลูกหนี้ที่คาดว่าจะเก็บเงินไม่ได้มี 2 วิธี คือ

                          1) คำนวณจากร้อยละของยอดขาย (Percentage of Sales Method)


                          2) คำนวณจากร้อยละของยอดลูกหนี้สินงวด (Percentage of Receivables

                       Method)
   90   91   92   93   94   95   96   97   98   99   100