Page 15 - SchoolLibrary_Handbook_ACIT_KRU_ModifiedByNilu
P. 15
คู่มือการจัดการงานห้องสมุดโรงเรียน 10
ตำรำงที่ 2 ตารางแสดงอักษรย่อหรือสัญลักษณ์หนังสือที่จัดหมวดหมู่ในห้องสมุดโรงเรียนจากการ
ด าเนินงานการให้บริการวิชาการตามค าร้องขอของชุมชนด้านการพัฒนาห้องสมุดโรงเรียน
อักษรย่อ/ ภำษำไทยย่อมำ อักษรย่อ/ ภำษอังกฤษย่อมำ
ชื่อหนังสือ
สัญลักษณ์ จำกค ำว่ำ สัญลักษณ์ จำกค ำว่ำ
หนังสือนวนิยาย น นวนิยาย F Fic หรือ Fiction
หนังสือส าหรับเด็ก ย เยาวชน J Juvenile
หนังสือแบบเรียน บ แบบเรียน - -
หนังสืออ้างอิง อ อ้างอิง R Reference
2. กำรวิเครำะห์เลขหมู่หนังสือ
การวิเคราะห์เลขหมู่หนังสือ เป็นการวิเคราะห์เนื้อหาของหนังสือและก าหนดสัญลักษณ์ส าหรับ
จัดเก็บหนังสือแต่ละประเภทแต่ละเล่มให้มีความเป็นระเบียบ แยกตามเนื้อหาสาระของหนังสือโดยมี
วัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อให้หนังสือประเภทเดียวกันจัดเก็บไว้ด้วยกัน
2. เพื่อให้หนังสือประเภทเดียวกันที่มีเนื้อหาสาระเดียวกันจัดเรียงอยู่ใกล้กันสะดวกต่อการค้นหา
ของผู้ใช้
3. เพื่อช่วยให้ครูบรรณารักษ์ทราบว่ามีหนังสือวิชาใดมากน้อยเพียงใด ง่ายต่อการพิจารณาว่าจะ
จัดหาหนังสือเพิ่มขึ้น
4. เพื่อให้ง่ายต่อการค้นหาและการเก็บคืนเข้าที่เดิม เนื่องจากหนังสือแต่ละเล่มมีสัญลักษณ์บอกที่
จัดเก็บแน่นอนชัดเจน
5. เพื่อช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นหนังสือที่ต้องการได้ แม้จะไม่ทราบชื่อผู้แต่งและชื่อเรื่อง
3. หลักกำรวิเครำะห์หมวดหมู่หนังสือ
การวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่หนังสือ ครูบรรณารักษ์จึงจ าเป็นต้องรู้จักส่วนต่างๆ ของหนังสือเพื่อใช้
เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์และจัดหมวดหมู่หนังสือ รวมทั้งการลงรายการหนังสือ ดังนี้
1. หน้าปก (cover) เป็นส่วนที่บอกชื่อเรื่องหนังสือ ชื่อผู้แต่ง ส านักพิมพ์ ปรากฎอยู่หนังสือบาง
เล่มชื่อเรื่องจะอยู่ที่หน้าปกนอกกับหน้าปกในอาจจะแตกต่างกัน
2. หน้าปกใน (title page) เป็นหน้าที่อยู่ถัดจากปกนอกและหลังจากใบรองปกให้รายละเอียดต่างๆ
เกี่ยวกับหนังสือเล่มนั้น เช่น ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง ผู้จัดพิมพ์ ปีที่พิมพ์ เป็นต้น ในการลงรายการให้ใช้ข้อความใน
หน้าปกในเป็นหลัก
ส านักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี