Page 2 - บทที่ 1
P. 2

ค าน า



                        การพัฒนาประเทศไปสู่สังคมอุดมปัญญา  จะต้องอาศัยบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ

                   ตระหนักในความส าคัญของการรับรู้ข้อมูลและสารสนเทศต่างๆ อย่างมีวิจารญาณ จนเกิดปัญญาปฏิบัติ
                   เพื่อน าองค์ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์  การจัดการความรู้จึงเป็นสิ่งส าคัญที่จะต้องปลูกฝังและฝึกฝน

                   ทั้งด้านการสืบค้น วิเคราะห์ และสังเคราะห์เพื่อน าเสนอองค์ความรู้ที่ถูกต้องเหมาะสมในรูปแบบต่างๆ

                   รายวิชาภาษาไทยเชิงวิชาการ GEL 2001 จึงเกิดขึ้นเพื่อมุ่งเน้นให้ผู้เรียนตระหนักถึงความส าคัญและใช้
                   ภาษาเชิงวิชาการเพื่อถ่ายทอดงานวิชาการในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  รายวิชา

                   ภาษาไทยเชิงวิชาการนี้จัดท าโดยศูนย์การศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาที่มุ่งพัฒนาการ

                   เรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หลักสูตรปริญญาบัณฑิต  มีการเรียนการสอนตามหลักการปฏิรูป
                   การเรียนรู้ตามระบบการเรียนกลุ่มใหญ่ ร่วมกับระบบ E-Learning เน้นให้ผู้เรียนศึกษาด้วยตนเองเพื่อ

                   พัฒนาศักยภาพของผู้เรียนต่อไป


                        เอกสารประกอบการสอนวิชาภาษาไทยเชิงวิชาการ GEL 2001 นี้ คณาจารย์ผู้เขียนได้แบ่งเนื้อหา

                   ออกเป็น ๘ หน่วยการเรียน ได้แก่ หน่วยการเรียนที่ ๑ ความรู้พื้นฐานเรื่องการเขียนเชิงวิชาการ หน่วย

                   การเรียนที่ ๒ การใช้ภาษาเชิงวิชาการ หน่วยการเรียนที่ ๓ การสืบค้นข้อมูลและการอ้างอิงเชิงวิชาการ
                   หน่วยการเรียนที่ ๔ การเขียนรายงานวิชาการ หน่วยการเรียนที่ ๕ การเขียนบทความแสดงความคิดเห็น

                   หน่วยการเรียนที่ ๖ การเขียนบทความวิชาการ หน่วยการเรียนที่ ๗ การเขียนเอกสารราชการ และหน่วย

                   การเรียนที่ ๘ การเขียนรายงานวิจัย เอกสารประกอบการสอนนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษารายวิชา
                   ภาษาไทยเชิงวิชาการระดับเบื้องต้นเท่านั้น ผู้เรียนจะต้องศึกษาเพิ่มเติมในระบบ  E-Learnning ที่

                   คณาจารย์สาขาวิชาภาษาไทยได้จัดท าร่วมกับเอกสารประกอบการสอนเล่มนี้จึงจะเกิดประโยชน์สูงสุด

                   เพราะจะมีแบบทดสอบประจ าแต่ละหน่วยส าหรับวัดความรู้ของผู้เรียนซึ่งจะท าให้มีความเข้าใจใน
                   บทเรียนมากยิ่งขึ้น รวมทั้งฝึกให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบที่จะต้องศึกษาเพิ่มเติมด้วยตนเอง มีวินัยต่อการ

                   ปฏิบัติกิจกรรมในแต่ละหน่วยการเรียน  ตอบสนองต่อปณิธานของมหาวิทยาลัยที่ต้องการมุ่งให้ผู้เรียน

                   เป็นผู้ “ทรงปัญญา ศรัทธาธรรม  น าสังคม” สมดังปณิธานอย่างแท้จริง


                                                                                                                                    คณาจารย์สาขาวิชาภาษาไทย

                                                                                                                          คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
                                                                                                                              มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
   1   2   3   4   5   6   7