Page 6 - บทที่ 1
P. 6
G E L ๒ ๐ ๐ ๑ ภ า ษ า ไ ท ย เ ชิ ง วิ ช า ก า ร | ๕๙
๓. ศึกษารูปแบบและส่วนประกอบของรายงาน
๔. วิเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูล
๕. อ้างอิง
ขั้นตอนต่างๆ ดังข้างต้นเป็นแนวทางปฏิบัติ เมื่อผู้จัดท าต้องการศึกษาค้นคว้าเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่
เกี่ยวข้องกับการเรียนวิชานั้นๆ เพื่อให้ได้ผลการศึกษาที่น่าเชื่อถือ โดยมีรายละเอียดของวิธีการ
ด าเนินการ ดังนี้
๑. วางแผนการท ารายงาน ประกอบด้วยการก าหนดหัวเรื่อง ก าหนดวัตถุประสงค์ และจัดท า
โครงเรื่อง
๑.๑ ก าหนดหัวเรื่อง
การก าหนดหัวเรื่องรายงานวิชาการ อาจเกิดจากการตกลงร่วมกันระหว่างผู้สอนและ
ผู้เรียน
หรืออาจเกิดจากการให้อิสระในการเลือกค้นคว้าข้อมูลที่ผู้เรียนสนใจก็ได้ ดังนั้นหากต้องก าหนดหัว
เรื่องเพื่อท ารายงานด้วยตนเอง เราควรพิจารณาจากประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
ก. เลือกเรื่องที่เราสนใจ การท าในสิ่งที่ตนพอใจย่อมก่อให้เกิดความสุข และ
มุ่งมั่นที่จะด าเนินการต่อไปจนส าเร็จ และถ้าเรื่องเลือกเกี่ยวข้องกับเนื้อหาในรายวิชาที่ก าลังศึกษาอยู่ด้วย
ก็จะเป็นประโยชน์ยิ่งขึ้น เพราะนอกจากจะท างานในประเด็นที่เราสนใจแล้ว ยังเป็นโอกาสเพิ่มเติม
ความรู้ในวิชานั้นด้วย
ข. เลือกเรื่องที่ตรงกับความสามารถของเรา เพราะการท างานที่ตรงกับ
ความสามารถของตนย่อมส่งผลให้งานมีคุณภาพมากกว่าเลือกท างานที่ตนไม่ถนัด
ค. เลือกเรื่องที่คาดว่าเราจะท าได้ส าเร็จ ส าหรับผู้เรียนในระดับชั้นต่างกัน พื้นฐาน
ความรู้ก็ย่อมต่างกัน ดังนั้นจึงควรพิจารณาถึงศักยภาพของตนเองด้วย ควรตระหนักว่าเรื่องที่สนใจนั้น
สามารถจะท าได้ส าเร็จภายในระยะเวลาที่ก าหนดหรือไม่ การเลือกเรื่องที่เหมาะสมกับความสามารถ
ของตนก็จะเป็นเหตุผลหนึ่งที่สนับสนุนให้การท ารายงานส าเร็จได้ตามเป้าหมาย
ง. เลือกเรื่องที่สามารถหาข้อมูลได้ เพราะในการท ารายงานวิชาการทุกครั้งข้อมูล
อ้างอิงเป็นสิ่งส าคัญ หากหัวข้อที่เลือกไว้ไม่สามารถหาข้อมูลมาสนับสนุนได้ก็จะท าให้ข้อมูลไม่มี
น ้าหนักและไม่น่าเชื่อถือ ดังนั้นก่อนเลือกเรื่องให้ค านึงถึงแหล่งข้อมูลไปพร้อมๆ กัน
เมื่อได้เรื่องตามที่ต้องการแล้ว สิ่งส าคัญอีกอย่างก็คือ “การตั้งชื่อเรื่อง” เนื่องจาก
การน าเสนอผลการค้นคว้าด้วยรายงานวิชาการนี้เป็นการเขียนที่ต้องใช้ภาษาแบบแผน ดังนั้นภาษาใน
การตั้งชื่อเรื่องจึงแตกต่างจากการตั้งชื่อประเภทอื่น ชื่อเรื่องของรายงานวิชาการไม่ต้องการความตื่นเต้น
โลดโผน ไม่ใช้ประโยคค าถาม แต่ควรเป็นค าวลีหรือกลุ่มค าที่มีความหมายในตัวมันเองและแสดง
ประเด็นที่จะศึกษาให้ชัดเจน อาทิ
แสดงสภาพการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น การเปลี่ยนแปลงของพยัญชนะต้นเป็นอักษรน า
กลับสู่หน้าสารบัญ