Page 9 - บทที่ 1
P. 9

๖๒ | G E L ๒ ๐ ๐ ๑   ภ า ษ า ไ ท ย เ ชิ ง วิ ช า ก า ร



                                                            1
                          ๒.   ส ารวจ รวบรวม และจัดเก็บข้อมูล   ดังที่กล่าวไว้ตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกเรื่องเพื่อจะท า
                   รายงานแล้วว่า ควรพิจารณาแหล่งข้อมูลไปพร้อมๆ กัน เพื่อเป็นการประเมินความส าเร็จของการท า

                   รายงานฉบับนั้นว่ามีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด  เพราะหากเรื่องน่าสนใจ แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลหรือ

                   มีข้อมูลแคบมาก จนไม่น่าน ามาท าเป็นรายงานได้  การท ารายงานเรื่องนั้นให้ส าเร็จก็มีความเป็นไปได้

                   น้อย หรืออาจจะต้องเปลี่ยนแปลงหัวเรื่องใหม่กลางครันได้
                          ๓.  ศึกษารูปแบบและส่วนประกอบของรายงาน ก่อนลงมือท ารายงานผู้จัดท าควรศึกษารูปแบบ

                   และส่วนประกอบของรายงานให้เข้าใจเป็นอย่างดี    เนื่องจากการเขียนรายงานวิชาการเป็นงานเขียนที่มี

                   รูปแบบเฉพาะ  ดังนั้นหากผู้จัดท ารายงานไม่ให้ความส าคัญกับส่วนที่เป็นองค์ประกอบเหล่านี้แล้ว  งาน

                   เขียนย่อมไม่สมบูรณ์  มีผลท าให้คุณค่าของรายงานวิชาการด้อยลงได้  ดังนั้นในบทนี้จึงได้กล่าวถึงการ
                   เขียนส่วนประกอบของรายงานไว้เพื่อใช้ประกอบการจัดท ารายงานด้วย

                          ๔.  วิเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูล   เมื่อผ่านขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้ว  ให้น าข้อมูล

                   มาวิเคราะห์ด้วยแนวคิดหรือทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ที่ศึกษา    ตัวอย่างเรื่อง “การออกเสียงของ
                   ผู้สื่อข่าว”  ถ้าศึกษาในแนวภาษาศาสตร์ อาจจะศึกษาวิธีการออกเสียงว่าผู้สื่อข่าวออกเสียงถูกต้องตาม

                   หลักการออกเสียงภาษาไทยหรือไม่  มีเสียงไหนที่ผิดแปลกหรือเบี่ยงเบนไปจากเสียงมาตรฐานบ้าง

                   เบี่ยงเบนไปอย่างไร  สาเหตุของการออกเสียงผิดปกติเนื่องจากอะไรบ้าง    แต่นักนิเทศศาสตร์อาจจะ
                   เลือกศึกษาการออกเสียงขณะรายงานข่าวแต่ละประเภท ว่ามีลักษณะเหมือนหรือต่างกันอย่างไร  และ

                   ลักษณะที่แตกต่างเหล่านั้นมีความสัมพันธ์กับเนื้อหาข่าวหรือไม่  การออกเสียงหรือการใช้เสียงใน

                   ลักษณะดังกล่าวสร้างความน่าสนใจให้กับเนื้อข่าวมากน้อยเพียงใด เป็นต้น

                          ข้อมูลที่ได้มาทั้งหมดต้องน ามาเรียบเรียงด้วยส านวนภาษาของตนเอง หลีกเลี่ยงการลอกจาก
                   ต้นฉบับหรือข้อมูลอ้างอิง  และจัดล าดับการน าเสนอตามกรอบโครงเรื่องที่ได้ก าหนดไว้แล้ว ซึ่งจะ

                   กล่าวถึงอีกครั้งในหัวข้อการใช้ภาษาในการเรียบเรียงรายงาน

                          ๕.  อ้างอิง   การอ้างอิงแหล่งข้อมูลส าหรับการท ารายงานวิชาการเป็นสิ่งที่ผู้ท ารายงานต้องให้
                                   2
                   ความส าคัญโดยให้ค านึงถึงคุณภาพของข้อมูลที่น ามามากกว่าค านึงแต่เพียงปริมาณของข้อมูล
                   จุดประสงค์ของการอ้างอิงก็เพื่อเป็นการแสดงหลักฐาน เพื่อเสนอความรู้เพิ่มเติมหรือความรู้ที่ส าคัญ

                   ประกอบเนื้อหา ท าให้รายงานมีคุณค่ายิ่งขึ้น  ข้อพึงระวังส าหรับการน าข้อมูลของผู้อื่นมาอ้างอิงใน

                   รายงานของตนมากเกินไป อาจก่อให้เกิดผลเสียคือผู้จัดท าไม่ได้น าเสนอแนวคิดของตนให้เป็นที่
                   ประจักษ์ชัด  เนื่องจากแนวคิดทั้งหมดที่น าเสนอล้วนน ามาจากผู้อื่น





                   1
                       ศึกษาเพิ่มเติมจากหน่วยการเรียนเรื่อง การสืบค้นข้อมูลและการอ้างอิงเชิงวิชาการ
                   2
                      ศึกษาเพิ่มเติมจากหน่วยการเรียนเรื่อง การสืบค้นข้อมูลและการอ้างอิงเชิงวิชาการ






                                                                                                กลับสู่หน้าสารบัญ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14