Page 137 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 137
137
2. การตั้งคําถามที่ผู้ตอบมีส่วนได้เสีย ซึ่งจะทําให้ผู้ตอบมีความเต็มใจที่จะให้คําตอบ เนื่องจากคํา
เหล่านี้จะสื่อความหมายได้หลายแบบ
3. ควรหลีกเลี่ยงการใช้คําคุณศัพท์และคําวิเศษณ์ เช่น บ่อย มาก น้อย หลาย เป็นต้น เพราะคํา
เหล่านี้สื่อความหมายได้หลายแบบ
4. ควรตั้งคําถามให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของเรือสมมติฐานการวิจัยเท่านั้น อย่าตั้งคําถามนอกเรื่อง
โดยเด็ดขาด เพราะนอกจากจะเกี่ยวข้องกับสมมติฐานการวิจัยเท่าน ไม่ได้ประโยชน์แล้วยังเสียเวลาและ
แรงงานอีก
5. ควรตั้งคําถามชนิดที่จะนําตัวเลขมาสรุปเป็นตารางวเคราะห์ได้ง่าย โดยเฉพาะควรใช้คําถาม
ประเภทคําถามปิด (Close-ended) ให้มาก ส่วนคําถามแบบเปิด (Open-ended) ควรใช้ให้ แต่ต้องขึ้นอยู่
กับเรื่องที่ทําการวิจัยด้วยว่าควรจะใช้ประเภทใดมากกว่ากัน
6. ควรตั้งคําถามให้สั้น กะทัดรัด เข้าใจง่าย และได้ใจความที่สุด
7. การตั้งคําถาม คําถามหนึ่งควรมีเพียงประเด็นเดียว เพราะจะทําให้ผู้ตอบสงสัยว่าจะให้ ตอบ
อย่างไรแน่ ซึ่งผลจากความสงสัยจะทําให้ไม่อยากตอบ หรือตอบก็ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง ทําให้
เกิดความเสียหายต่อข้อมูลที่ได้รับมา
8. ไม่ควรตั้งคําถามที่ซ้ําซ้อน ยกเว้นจะมีเจตนาเพื่อตรวจสอบความเชื่อถือของการให้คําตอบ
9. คําถามที่ใช้ต้องไม่เป็นคําถามนํา
10. ภาษาที่ใช้ในการตั้งคําถาม ควรเป็นภาษาที่ผู้ตอบสามารถเข้าใจได้โดยง่ายหรือภาษา ท้องถิ่น
นั้นๆ เช่น วัน เดือน ปี ก็ควรถามเป็น ขึ้น แรม 11. คําถามที่เกี่ยวกับมาตราต่างๆ ถ้าจําเป็นต้องถาม ก็ควร
เลือกใช้ให้เหมาะสมกับชุมชน เช่น กรุงเทพฯ จะชินกับมาตราวัดพื้นที่เป็นตาราง ในขณะที่คนในต่างจังหวัด
หรือในชนบทจะชิน กับมาตราวัดเป็นงานและไร่ หรือความยาวก็จะเป็นวาและเส้น เป็นต้น
12. หลีกเลี่ยงคําย่อต่างๆ ที่ไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วๆ ไป หรือเป็นคําที่ใช้แล้วสื่อความหมาย ต่างกัน
13. ไม่ควรตั้งคําถามที่เป็นคําปฏิเสธซ้อนปฏิเสธ เช่น ท่านไม่เชื่อว่าตํารวจจะไม่จับกุม ผู้กระทําผิด
กฎจราจรอย่างจริงจัง
14. ไม่ควรตั้งคําถามที่จะทําให้ผู้ตอบมีความเอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น ถามว่า ท่านมีรายได้
พอแก่การครองชีพหรือไม่ ถ้าเป็นชาวนาก็คงจะตอบว่าไม่พอเกือบทั้งสิ้น