Page 205 - การหาข้อมูลทางการตลาด
P. 205
205
ขั้นตอนในการเขียนรายงาน
ในการเขียนรายงาน ผู้วิจัยควรให้ความสําคัญกับเนื้อหามากกว่าแบบฟอร์ม จึงควร พิจารณาขั้นตอน
การเขียนรายงานต่างๆ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์และมีความสมบูรณ์ดังนี้
1 ควรเขียนรายงานฉบับร่างก่อน ในการเขียนรายงานนั้นควรจะเขียนฉบับร่างก่อน โดยเขียนเน้นถึง
การถ่ายทอดแนวความคิดที่ได้จากการศึกษาก่อน เช่น มีความคิดเห็นในเรื่องนั้น อย่างไรบ้าง ก็ให้เขียนลงไว้
ก่อนให้ต่อเนื่องกัน โดยไม่ต้องสนใจเรื่องภาษาหรือไวยากรณ์ว่าจะถูก หรือผิด เมื่อเขียนฉบับร่างเสร็จแล้วจึง
กลับมาแก้ไขในภายหลัง
2 การลงมือเขียน เมื่อศึกษาค้นคว้าเสร็จสิ้นใหม่ๆ ผู้วิจัยควรรีบลงมือเขียนรายงาน ทันทีเพื่อป้องกัน
การลืม โดยไม่ต้องรอให้ทุกอย่างพร้อมก่อน หรือหวังที่จะเริ่มต้นด้วยถ้อยคําที่ สละสลวย ถูกต้องสมบูรณ์
เพราะหากมัวแต่รอก็จะไม่ได้ลงมือทําสักที ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ความคิดอ่านต่างๆ ที่ดีก็จะหายไป แต่ถ้าได้ลง
มือเขียนถ่ายทอดความคิดไปแล้วก็เกิดความคิด ต่อเนื่อง และเรียบเรียงต่อไปได้ง่ายขึ้น สามารถกลับมาแก้ไข
ถ้อยคําที่ร่างไว้ได้
3 ควรละส่วนประกอบไว้ก่อน ในการเขียนรายงานการวิจัยบางครั้งอาจต้องการ ตัวเลข แผนภาพ
ตาราง หรือภาพประกอบต่างๆ ควรละส่วนประกอบเหล่านี้ไว้ก่อน เพราะจะทําให้ เสียเวลา และอาจจะทํา
ให้ความคิดเห็นต่างๆ สะดุดหยุดลง ในขั้นตอนนี้อาจจะทําหมายเหตุหรือ ทําเครื่องหมายเอาไว้ว่าจะต้องใช้
ตัวเลข ตาราง แผนภาพ หรือภาพประกอบอะไรบ้าง แล้วจึง กลับมาตรวจแก้ไขภายหลังให้สมบูรณ์
4 การแก้ไขขั้นต้น เมื่อเขียนรายงานการวิจัยฉบับร่างเสร็จแล้ว ควรทิ้งไว้สักระยะหนึ่ง แล้วจึงลงมือ
ตรวจแก้ไขขั้นต้นด้วยตนเอง เพื่อให้สามารถเห็นข้อบกพร่องของตนเองได้ดีขึ้น
5 การแก้ไขขั้นสุดท้าย เมื่อพิมพ์ฉบับร่างเป็นรูปแบบรายงานตามแบบฟอร์มแล้ว ก็ควรตรวจแก้ไข
ขั้นสุดท้ายเพื่อความสมบูรณ์ของรายงาน โดยสามารถทําได้ 3 วิธี ดังนี้
5.1 ควรเชิญผู้ทรงคุณวุฒิในการวิจัยด้านนั้นๆ มาตรวจแก้เพื่อดูข้อบกพร่องต่างๆ ที่อาจจะหลงเหลือ
อยู่
5.2 ตรวจแกิด้วยตนเอง จะต้องทิ้งต้นฉบับร่างไว้ระยะหนึ่ง หลังจากเขียนเสร็จ จะช่วยให้มองเห็น
จุดบกพร่องได้ดียิ่งขึ้น การตรวจแก้ไขด้วยตนเองจะต้องทําใจให้เป็นกลาง และ คิดว่าตนเองเป็นผู้อ่าน
รายงานนั้นคนหนึ่ง เมื่อพบข้อผิดพลาดก็ควรรีบจัดการแก้ไข และควรจะ อ่านอีกครั้งหนึ่ง เพื่อดูความ
ต่อเนื่องและกลมกลืนกันของรายงาน