Page 103 - ดับตัวตนค้นธรรม2566
P. 103
ขณะที่คิดแล้วไม่สบายใจ พอดับทุกข์ได้แล้ว จิตรู้สึกโล่งขึ้น เบาข้ึน สงบขึ้น พอคิดใหม่ ความทุกข์ไม่เกิดแล้ว รู้แต่ว่าคิดอะไร จุดท่ีผู้ปฏิบัติควร สังเกตก็คือว่า ในขณะที่คิดแล้วความทุกข์ไม่เกิดข้ึน ลองดูว่า ความคิดนั้น เกิดอยู่ท่ีไหน... เกิดอยู่ที่ตัว เกิดบริเวณหัวใจ เกิดอยู่ท่ีศีรษะ เกิดอยู่ท่ีสมอง หรือเกิดอยู่ข้างหน้าในที่ว่าง ๆ เกิดอยู่ในที่ไกล ๆ หรือเกิดอยู่ในความเบา ? อันนี้ผู้ปฏิบัติจะต้องสังเกตพิจารณาให้ต่อเน่ือง เม่ือความทุกข์ดับไปแล้ว เวทนาทางใจดับไปแล้ว ใจรู้สึกโล่ง รู้สึกโปร่ง รู้สึกเบา ให้สังเกตใจท่ีโล่ง ที่โปร่ง ท่ีเบานั้น โปร่งเฉพาะบริเวณหทยวัตถุ หรือรอบ ๆ ตัวก็เบาก็โล่งไปด้วย ? การสังเกตแบบน้ีจะทาให้เห็นจิตตัวเองชัดขึ้นว่าจิตที่โล่งที่โปร่งที่เบาน้ันกว้าง แค่ไหน ถ้าผู้ปฏิบัติเห็นว่าจิตที่โล่งที่โปร่งที่เบากว้างกว่าตัว รอบ ๆ ตัวก็ กว้างเบาไปด้วย นั่งอยู่ในห้องก็รู้สึกว่าทั้งห้องนี้โล่งไปหมด จิตที่โล่งเบาก็กว้าง เท่ากับห้องที่น่ังอยู่ พอสังเกตเห็นแบบนี้ ก็จะเห็นว่ารูปหรือตัวท่ีน่ังอยู่ตั้งอยู่ ในที่โล่ง ๆ ว่าง ๆ ขณะที่จิตโล่งสบายไม่มีขอบเขต พอคิดถึงเร่ืองที่เคย ทาให้ไม่สบายใจ ก็รู้สึกว่าความคิดนั้นเกิดอยู่ในท่ีว่าง ๆ โล่ง ๆ เบา ๆ และ ความคิดน้ันก็เบาไปด้วย อันน้ีเป็นเร่ืองสาคัญในการพิจารณา
การที่ผู้ปฏิบัติทาใจให้ว่าง ให้โล่ง ให้โปร่ง ให้เบา ขยายจิตได้ ทาจิต ให้โล่งแบบน้ีได้ มีประโยชน์อย่างไร ? สังเกตไหมว่าการท่ีทาแบบนี้ไม่ได้
95
95