Page 196 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การดูสภาพจิต
P. 196

716
ยบุ บา้ ง มอี าการเตน้ ของหวั ใจ มอี าการเครง่ ตงึ มคี วามรอ้ น มคี วามปวด ซงึ่ เขาเกดิ ขนึ้ มานนี่ ะ เปน็ กระบวน การของชีวิตเรา เป็นอาการของขันธ์ทั้งหมดที่ทาหน้าที่ของตน ขันธ์ทั้งหมดทาหน้าที่ของตน ลองดูนะ ถ้า ขันธ์ใดขันธ์หนึ่งไม่ทางาน จะเป็นอย่างไร คงไม่ปกติ...ใช่ไหม
รูปขันธ์ไม่มีจะเป็นอย่างไร คงเป็นเทวดาไปแล้ว ถ้าเวทนาขันธ์ไม่ทางาน จะรู้ไหมว่าสบาย รู้ไหม ว่ามีความสุข รู้ไหมว่าเฉย ๆ รู้ไหมว่า...ทุกข์ ก็ไม่รู้อีก ก็กลายเป็นเหมือนต้นไม้นั่นแหละ คือขันธ์ก็ต้อง ทาหน้าที่ เวทนาขันธ์ก็ทาหน้าที่ของตน จึงรู้ว่านี่คือเวทนา สัญญาขันธ์เขาก็ทาหน้าที่ ลองดูสิว่าถ้า สัญญาขันธ์ไม่ทาหน้าที่ สัญญาในที่นี้หมายถึงว่าความจา จิตที่ทาหน้าที่จา ๆ ๆ เรานี่...กลัวมากเลยนะ โดยเฉพาะผู้มีราตรีอันยาวนาน ที่นั่งอยู่บนเก้าอี้...ก็มีราตรีอันยาวนาน คือเกิดนานแล้ว ถ้าสัญญาไม่ดี คือความจาไม่ดี จะเกิดความวิตกกังวลกลัวว่า จะเป็นอัลไซเมอร์ กลัวเป็นคนขี้หลงขี้ลืมไป...
สังเกตไหมว่านี่ก็คือสัญญาขันธ์ เขาจึงทาหน้าที่ และสัญญาตรงนี้ เขาจะจาทุกเรื่องที่รับรู้และ ประทับใจ แต่ถ้าไม่ประทับใจเขาก็ลืมง่าย เขาก็ผ่านไป แต่ถ้าอันไหนที่ประทับใจทั้งที่ดีและไม่ดี ทั้งที่ดี และไม่ดี แต่คาว่าประทับใจ...ไม่ได้หมายความว่าทุกข์นะ แล้วก็ไม่ใช่ว่าสุขอย่างเดียว เป็นอารมณ์ที่ติด อยู่ในใจเรานาน สังเกตไหมว่า ทาไมประทับใจแล้วติดอยู่นาน ถ้าเราสังเกตดี ๆ ก็คือว่า อารมณ์อะไร ที่ประทับใจ เราจะใส่ใจมากเลย คิดแล้วคิดอีก คิดได้ทั้งวัน ระลึกถึงเขาได้ทั้งวัน ตั้งแต่เช้าจนถึงเย็น ตอนก่อนนอน ตื่นมาคิดต่อซ้า ๆ แล้วเราก็รู้สึกว่า ทาไมไม่ลืมสักทีหนึ่ง...ลืมยาก เพราะเราคิดถึงเขา ตลอดเวลา นี่คือธรรมชาติของจิต ไม่ว่าจะเป็นอะไร นี่คือธรรมชาติของจิต และเราก็ไม่ได้สนใจว่า การ เกิดดับเขาเป็นอย่างไร นี่แหละขันธ์เขาทาหน้าที่ของตน ถ้าเขาไม่ทาหน้าที่...อันนั้นน่ากลัว
เพราะฉะนั้นสิ่งที่เกิดขึ้นมาก็คือว่า ขันธ์ที่เกิดขึ้นมาพระพุทธเจ้าตรัสว่า ไม่ควรเข้ายึดมั่นถือมั่นว่า เป็นของเรา ไม่มีอุปาทานให้เขาทาหน้าที่ของเขา แล้วเราก็แยกจิต ทีนี้สาคัญต่อไปก็คือว่า พอเราเห็นจิต กับกายเป็นคนละส่วน พอมีความคิดขึ้นมา ก็ต้องสังเกตว่า จิตกับเรื่องที่คิดเขาเป็นส่วนเดียวกันไหม ตรงนี้เราแยกอะไร แยกระหว่างวิญญาณขันธ์กับสัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์คือจิตที่ทาหน้าที่รู้ สัญญาขันธ์ คือเรื่องราวที่ระลึกได้ ที่จาได้ ที่กาลังปรากฏ เรื่องเก่า ๆ ที่กาลังเกิดขึ้นมา จิตที่ทาหน้าที่รู้กับเรื่องนั้น เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน เราไม่ได้ทาอะไรพิเศษเลย แค่เราสนใจ ใส่ใจคาสอนพระพุทธเจ้า แค่นั้นเอง
ทาไมพระพุทธเจ้าต้องตรัสอย่างนั้น เราเห็นความเป็นจริงหรือเปล่าว่า เขาเป็นอย่างที่พระพุทธเจ้า ตรัสไว้หรือเปล่า อันนี้คือรู้สัจธรรม และพอเห็นอย่างนั้นปุ๊บ ลองดูสิว่า ง่าย ๆ นะ...ลองตอนนี้ก็ได้ ทา จิตของเราให้ว่างให้กว้าง กว้างไม่มีขอบเขตเลย กว้างเท่าบริเวณนี้ให้มากที่สุด เท่าที่รู้สึกว่าให้กว้างออกไป เห็นจิตตัวเองยิ่งกว้างยิ่งรู้สึกเบา แล้วลองคิดถึงเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จิตที่ว่างที่เบากับเรื่องที่คิด เป็นส่วน เดียวกันไหม เรื่องที่คิดกับจิตที่เบาอันไหนกว้างกว่ากัน พอจิตกว้างกว่าปื๊บ เรื่องนั้นรู้สึกเป็นอย่างไร หนัก หรือเบา ตรงนี้คือเห็นถึงความเป็นคนละส่วน ไม่ใช่ห้ามคิด นี่แหละคือการ...เราไม่ห้ามคิด


































































































   194   195   196   197   198