Page 75 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การดูสภาพจิต
P. 75

595
อาการเกิดดับของความคิดเปลี่ยนไปอย่างไร ทีนี้พอความคิดหมดไป รู้ทันแล้วความคิดไม่เกิด รู้สึกว่างไป นาน พอรู้ผุดขึ้นมาดับ ผุดขึ้นมาแล้วรู้ดับ ก็สังเกตผลเหมือนเดิม
สภาพจิตใจรู้สึกเป็นอย่างไร สติเป็นอย่างไร พอกลับมาดูสติ มีความตื่นตัวมากขึ้น สว่างขึ้นใสขึ้น กลับมารู้ตรงนั้น มารู้ข้างหน้าใหม่อยู่เฉพาะหน้า มารู้ที่ตัว ขณะที่จิตตื่นตัวขึ้น จิตสว่างขึ้น ใสขึ้น ลองดูว่า รูปที่นั่งอยู่ ตัวที่นั่งอยู่นี้ ตั้งตรงขึ้นด้วยไหม ตั้งมั่นขึ้นด้วยไหม กายตรง จิตตรง จิตตั้งมั่นขึ้น กายตรงขึ้น หรือเปล่า พอมาดูที่ตัว สักพักมีอาการอื่นเกิดขึ้นมา มีเสียงดังขึ้นมา เราก็กาหนดแบบเดียวกัน เสียงเกิด ดับในลักษณะอย่างไร จริง ๆ แล้ว ถ้าเราสังเกตนี่นะ เมื่อกี้นี้พูดถึงความคิดมา...สักพัก พอไปรู้แล้วก็ค่อย จางดับไป
เสียงท่ีปรากฏเกิดขึ้นมาก็เช่นเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไรก็ตามที่เราเข้าไปกาหนดรู้ พอเสียง ดังขึ้นมานี่นะ เสียงมันดังชัดสักระยะหนึ่ง...แล้ว หรือว่าพอเสียงเริ่มเกิดก็รู้ทัน เริ่มเกิดก็รู้ทัน สังเกตแบบ เดียวกันกับความคิด เพราะหลักเดียวกัน คือการพิจารณาอาการเกิดดับ อาการพระไตรลักษณ์ ความต่อ เนื่องอยู่ตรงไหน ความต่อเนื่องของสภาพจิต ความต่อเนื่องของสติ ก็คือว่า ช่วงที่กาหนดความคิด รู้ทัน ความคิด ความคิดดับไป ๆ พอความคิดหยุดไป จิตรู้สึกตั้งมั่นรู้สึกตื่นตัว มีความตั้งมั่นมีความตื่นตัว มี ความสว่างความใส พอมาดูที่รูปแล้วได้ยินเสียง มีเสียงเกิดขึ้น เสียงเรารับรู้ด้วยจิต ขณะที่จิตตื่นตัวตั้งมั่น มีความสว่าง พอไปกาหนดรู้อาการเกิดดับของเสียง เสียงเกิดดับในลักษณะอย่างไร
ความเชื่อมโยง ความต่อเนื่อง ก็คือตัวจิตที่ตื่นตัวและตั้งมั่น จิตที่ตื่นตัวและตั้งมั่นตรงนี้เป็นอะไร เป็นสติเป็นสมาธิที่มีกาลังอย่างต่อเนื่อง เพราะฉะนั้นเมื่อจิตตรงนี้มีความต่อเนื่องไป อาการต่อไป อารมณ์ ต่อไปนั้นเกิดดับอย่างไร เป็นความเชื่อมโยง เป็นความต่อเนื่องของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ถึงแม้จะเปลี่ยน อารมณ์ จากความคิดไปเป็นเสียงนะ ถึงแม้จะเปลี่ยนอารมณ์จากความคิดไปเป็นเสียง แต่จิตก็ยังเป็นจิต ที่ตั้งมั่น ต่อจากการกาหนดรู้ว่าคิดและไปรู้เสียงต่อ...ก็สังเกต
ทีนี้เมื่อฟังเสียงก็ต้องสังเกตแบบเดียวกัน เสียงเกิดดับในลักษณะอย่างไร เมื่อกี้นี้ที่ยกตัวอย่างว่า เสียงเกิดขึ้นมาพอไปรู้ เอ่อ! ความคิดเกิดสักพักแล้ว พอไปรู้ความคิดค่อย ๆ เลือนหาย ตอนนี้จิตตื่นตัว ขึ้นแล้ว พอได้ยินเสียง พอไปกาหนดรู้ที่เสียง เสียงนั้นเกิดดับในลักษณะอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นเสียงนก เสียงคน เสียงเครื่องจักร เสียงอะไรก็ตามที่เกิดขึ้น เสียงเดิน หรือเสียงลมหายใจ เสียงอะไรก็ตามที่เกิดขึ้น มา หรือแม้กระทั่งเสียงที่ดังอยู่ที่หูในความเงียบ เสียงหริ่ง ๆ เรไรที่เกิดขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเสียงอะไรก็ตาม พอไปกาหนดรู้เสียงนั้นเกิดดับอย่างไร
ถา้ เรามเี จตนาและกา หนดรใู้ นลกั ษณะอยา่ งนนี้ นี่ ะ ความตอ่ เนอื่ งของสติ ถงึ แมจ้ ะเปลยี่ นอารมณไ์ ป เปลี่ยนจากอารมณ์หนึ่งไปสู่อีกอารมณ์หนึ่ง สติก็ยังเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน กาลังของสติสมาธิปัญญา เจตนา สังเกตก็ยังมีความเชื่อมโยงต่อเนื่องกันไปได้ ตรงนี้เราก็จะอยู่กับอารมณ์ปัจจุบันไป พอกาหนดรู้เสียง ยิ่ง กาหนดรู้จิตตื่นตัวตั้งมั่น รู้เสียง เสียงเกิดดับในลักษณะอย่างไร แตกกระจาย ๆ ๆ กระจายไป ๆ หรือ ว่าแว็บหาย ๆ ตรงนี้ เริ่มแรกเราเห็นอาการของเสียงว่า แว็บหาย ๆ ๆ แต่พอนิ่งขึ้น ตามรู้เข้าไปกาหนดรู้


































































































   73   74   75   76   77