Page 136 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 136

112
อิริยาบถนั่ง อิริยาบถหลัก มาพิจารณาสภาพจิตเรา ตรงนั้นดียังไง สภาพจิต ที่ว่างดียังไง ตอนที่ทาอิริยาบถย่อย ก็ยังพิจารณาได้ ความว่างดียังไง สภาพ จิตที่ไม่มีตัวตน รู้สึกดีอย่างไร มีประโยชน์อย่างไร นั่นคือสิ่งที่ต้องสังเกต ต้องพิจารณา
ถ้าเราพิจารณาแบบนี้ เราจะเห็นคุณค่า และรู้ว่าการปฏิบัติธรรมของ เราไม่ได้อยู่กับที่ แต่ถ้าเรามุ่งที่จะให้ได้ธรรมะอย่างเดียว แล้วไม่พิจารณา ตรงนี้ เราจะรู้แคบ รู้แต่ว่าวันนี้สภาพจิตไม่ดีเลย มันนิ่ง ๆ ว่าง ๆ รู้สึกไม่ ดีเลย.. วันนี้ไม่มีพลังเลย มันว่างมันใสอย่างเดียว... ถ้าเรารู้ว่า วันนี้สภาพ จิตรู้สึกนิ่งสงบ ไม่มีอาการอื่น ที่ไม่มีอะไรเลยตรงนั้น มันคืออะไร ? ไม่มี อาการเกิดดับปรากฏขึ้นมาให้รับรู้ ? หรือไม่มีอารมณ์เข้ามากระทบ ? หรือ มีอารมณ์เข้ามากระทบ แล้วไม่ชัดเจน เขาเกิดอยู่ไกล ๆ ตัว ? ตรงนี้แหละ ที่เราพิจารณา เขาเรียก “รู้กว้าง”
อารมณ์ที่เกิดขึ้นมาเหมือนอยู่ไกล ๆ อยู่ในที่ว่าง ๆ บาง ๆ เบา ๆ จับไม่ชัดเจน แต่รู้สึกชัดว่าเขาเกิดในที่ว่าง ๆ เบา ๆ ไกล ๆ ถ้าเราสังเกต แบบนี้ เราจะเห็นสภาพจิตของเราชัดว่า มันจะไม่แค่ว่าง ๆ เบา ๆ แล้ว แต่ ถ้าไม่สังเกต เราปล่อยไปตามยถากรรม รู้ว่าไม่มีอาการอะไรเกิดขึ้น แล้ว ไม่ดู ก็แค่ว่าง ๆ ว่าง ๆ รู้สึกเหมือนกับตัวเองไม่ได้ปฏิบัติ หรือทาไม่ได้ จริง ๆ แล้วสังเกตดูตรงนั้น บางครั้งอยู่ในลักษณะที่เราไม่ได้ทาอะไรเลย คือ ปล่อยตามยถากรรม หรือไม่ดูสภาพจิต ไม่รู้อาการที่เกิดขึ้น
ที่จริงถ้าเราดูสภาพจิต จิตที่รู้สึกว่าไม่มีอะไรตรงนั้น เป็นความไม่มี อะไรที่รู้สึกว่ามีกาลังหรือเปล่า ? ถ้ารู้สึกว่าจิตที่ไม่มีอะไร พลังก็ไม่มี เมื่อรู้ว่า พลังไม่มี ทาอย่างไร ? เราจะยกจิต หรือว่าปล่อยไว้อย่างนั้น ? ถ้าเรายกจิต แสดงว่าเรามีการกระทา ยกจิตตัวเองขึ้นสู่ความสุข ยกจิตขึ้นสู่ความเบา ยก จติ ขนึ้ สคู่ วามสงบ ยกจติ ขนึ้ สคู่ วามนมิ่ นวล อนั นคี้ อื การกระทา หรอื กรรมฐาน หรือการปฏิบัติธรรม แม้ชั่วขณะหนึ่ง เราจะเห็นชัด ตรงนี้ต้องพิจารณาต้อง


































































































   134   135   136   137   138