Page 146 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 146

122
ตรงนี้เราจะเห็นว่า ธรรมะที่เราปฏิบัติ ที่เราได้นั้น มีคุณค่ามาก ๆ ถ้าเราไม่ เอาธรรมะที่เราปฏิบัติมาพิจารณา ไม่เกี่ยวกับชีวิตของเรา.. น่าเสียดาย เสียดายมาก ๆ ธรรมะที่เราเห็นเป็นสิ่งที่มีค่า
อาจารย์ย้อนกลับไปพิจารณา.. “ทาไมครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้า พระอริยสงฆ์ต่าง ๆ สละชีวิตทางโลก ออกมาแสวงหาทางพ้นทุกข์ ? “ เพราะ รู้ว่าธรรมะเป็นสิ่งที่มีค่า การพ้นทุกข์เป็นเรื่องสาคัญ เป็นเรื่องใหญ่ การไม่ เวียนว่ายตายเกิดเป็นเรื่องสาคัญ เป็นเรื่องใหญ่ บางครั้งทุกคนอยากบวช จนทิ้งครอบครัวไปบวช ไปปฏิบัติ แสวงหาทางหลุดพ้น เป็นยุคสมัย
ถามว่า.. “ปัญญา” ในสมัยพุทธกาลกับปัจจุบันเหมือนกันหรือไม่ ? ปัญญาตัวเดียวกัน แต่เป้าหมายต่างกัน เจตนา/เป้าหมายของเรามีความแก่ กล้ามากน้อยแค่ไหน ? ความเพียรของเราเป็นไปแบบไหน ? เราปฏิบัติแล้ว ได้อะไร ? จิตเราเป็นอย่างไร ? เราปฏิบัติแล้วได้ “ละ” อะไร ? เราละอะไร ได้บ้าง ? นั่นคือสิ่งที่เราต้องพิจารณา
สังเกต..เวลาไม่มีตัวตนเมื่อไหร่ก็จะรู้สึกดี แต่พอมีตัวตนก็รู้สึก ไม่ดี ความมีตัวตนถึงแม้อายุสั้น แต่ถ้าเกิดบ่อย ๆ ก็ไม่ดี อายุอารมณ์เรา สั้น แต่ถ้าเกิดถี่ ๆ ก็ไม่น่าดู มันเกิดมีตัวตนแวบขึ้นมา มีอารมณ์กระทบ แล้วก็หายไป ก็ว่างไป เดี๋ยวแวบใหม่.. เดี๋ยวแวบใหม่.. ก็ไม่ดี เพราะฉะนั้น ต้องพิจารณาให้ดี อันนี้แหละวิธีปฏิบัติ เราปฏิบัติแล้วเราจะได้ประโยชน์
ถึงบอกว่า ถ้าเรารู้เป้าหมายชัดเจนในการปฏิบัติของเรา เราจะเห็นชัด เรารู้ได้ว่า เราได้อะไรจากการปฏิบัติในแต่ละขณะ บัลลังก์นี้เราได้อะไรบ้าง ที่ ได้อะไรบ้างนี่ อย่าไปหาให้มันได้นะ ที่เราได้..เห็นสภาพจิตเป็นยังไง อาการ เกิดดับเป็นยังไง แล้วเราก็ได้ แล้วอีกอย่างหนึ่ง อาจารย์อยากให้เราพิจารณา เวลากาหนดสภาวะ “ความต่อเนื่องของอารมณ์”
“ความต่อเนื่องของอารมณ์” รู้สึกจะต้องพูดยาว เอาแบบคร่าว ๆ วิธีพิจารณามีอยู่.. ที่บอกของหมอสงวน เขาไม่ลืมการบ้าน แม้แต่สองเดือน


































































































   144   145   146   147   148