Page 196 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 196

172
อยู่ได้ไหม ? ตรงนี้เป็นธรรมะที่พิเศษ ที่ “ต่าง” ออกไป ที่เราคิดเอาไม่ได้ ที่ “ต่างออกไป” ก็คือว่า ไม่สามารถคิดให้เป็นอย่างนั้นได้ อนุมาน เอาไม่ได้ ตรรกะเอาไม่ได้ นี่คือการพิจารณาดู ที่เราปฏิบัติดูรูปนาม ดูกาย ดูจิต ปัญญาของเราที่เห็นความเป็นจริง ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า รูปนามอันนี้ เป็นอนัตตา หรือสัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา
“ธรรมทั้งหลายทั้งปวง” ในที่นี้หมายถึง รูปนามขันธ์ ๕
เพราะฉะนั้น คาว่า “รูปนามขันธ์ ๕” ที่เกิดขึ้น ไม่ใช่เฉพาะตัวเรา คน
อื่นก็เป็นรูปนามขันธ์ ๕ สัตว์ก็มีรูปนามขันธ์ ๕ ธรรมชาติใดที่มีจิตครองก็ เรียกว่ามีรูปนามขันธ์ ๕ ไม่มีจิตครองก็เป็นรูปไป อาศัยยังไง ? จิตของเรา ทาหน้าที่รู้รูปที่ไม่มีชีวิต ก็เป็นรูปกับนามที่สัมผัสกัน ผัสสะแล้วทาให้รู้ เกิดขึ้นมาว่าเป็นอะไร ก็คืออาการของรูปนาม นี่คือการพิจารณาดูความเป็น ธรรมชาติที่เปลี่ยนไป สภาวธรรมที่เกิดขึ้นจริง ๆ ไม่ใช่แค่คิด ตรรกะ อันนี้ เขาเรียกว่า “ภาวนามยปัญญา”
ปัญญาอีกอย่างหนึ่งก็คือ “จินตามยปัญญา” จินตามยปัญญา ที่เรา เห็นสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ เห็นความไม่มีตัวตน เห็นความว่างเปล่าแล้ว จะ คิดว่าอย่างไร ? จะเข้าใจว่าอย่างไร ? สภาวะที่เกิดขึ้นบอกอะไรกับเรา ? ถ้า เราไม่คิด เราก็จะไม่เข้าใจ ถ้าเราไม่พิจารณา เราก็จะเห็นแต่ว่ามันว่าง ๆ ว่าง เปล่า ไม่มีอะไร ก็จบตรงที่ว่าง ๆ ไม่มีอะไร และไม่ได้เข้าใจต่อเนื่องไปว่า ความว่างเปล่าที่เกิดขึ้นกับใจเรา บอก “อะไร” กับเรา ?
อาจารย์มักจะถามว่า “ความว่างที่เกิดขึ้น ความไม่มีตัวตนที่เราเห็น บอก “อะไร” กับเราบ้าง ?” “อาการพระไตรลักษณ์ อาการเกิดดับภายใน ที่ เป็นสภาวธรรมที่เกิดขึ้นมา เขาประกาศตัวเขาเป็นอย่างนั้น บอก “อะไร” กับ เรา ?” คาว่า “บอกอะไรกับเรา” ตรงนี้ต้องพิจารณาดูเอง เขาเรียก “จินตามย- ปัญญา” พิจารณา คิด ตรึกตรองดูว่า อาการที่เกิดขึ้นเป็นอย่างไร
นอกจากภาวนามยปัญญา เราเห็นถึงการเปลี่ยนแปลง เราเห็นอาการ


































































































   194   195   196   197   198