Page 199 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 199

175
ชอบ แต่รู้ว่าอกุศลที่เกิดขึ้นนั้นไม่ดี เพราะรู้โทษของอกุศลว่าเกิดขึ้นแล้ว ไม่ดีเลย ขุ่น ๆ หนัก ๆ อึดอัด แล้วเราก็รู้สึกว่าเราไม่ชอบ จริง ๆ คือ “เห็น โทษ” ของเขา แล้วเวลาเราดับ ดับได้เร็วขึ้น ไม่ใช่ว่าอกุศลเกิดขึ้นก็ไม่รู้สึก มันยิ่ง “ชัด” คิดขึ้นมานิดหนึ่งก็จะรู้สึกเลยว่า อ้อ! ไม่ดี รู้สึกชัดว่าไม่ดี ก็ “ดับ”
เพราะฉะนั้น การพิจารณาว่าการปฏิบัติของเราก้าวหน้ามากน้อยแค่ ไหน นอกจากการพิจารณาแบบนี้ เราสังเกตดูตัวเองโดยรวมแล้ว ที่บอกว่า นอกจากสภาวธรรม อาการเกิดดับ นอกจากสภาพจิต “ความคิดของเรา” หรือ “มุมมองของเรา” ต่ออารมณ์ที่เกิดขึ้นยังเหมือนเดิมหรือเปลี่ยนไป ? จากอารมณ์นี้ ที่เราเคยเห็นแล้วเราโกรธ ไม่เข้าใจมาก ๆ แต่พอจิตเราว่าง เราฟังอย่างไม่มีตัวตน แล้วเรา “เห็นความจริง” ตรงนั้นมากขึ้นหรือเปล่า ? “เข้าใจ” เรื่องนั้นมากขึ้นไหมว่า ที่เราไม่พอใจครั้งก่อน เกิดจากกิเลสของเรา หรือเกิดจากอะไร ? ตรงนั้นแหละ
เพราะฉะนั้น การที่เราพิจารณาสภาวะอาการเกิดดับของรูปนาม เขา เรียก “รู้อารมณ์ที่เป็นสภาวธรรมจริง ๆ” เป็นสภาวะที่ละเอียด หรือยิ่งเห็น อาการเกิดดับของรูปนามละเอียด ตรงนั้นเขาเรียกเป็น “อารมณ์ปรมัตถ์” หรือเป็น “สัจธรรมจริง ๆ” ที่เขาเกิดขึ้นอย่างนั้น เป็นแบบนั้น แล้วก็ดับไป อย่างนั้น ไม่เกิดจากการปรุงแต่ง ตรงที่บอกว่า “ความเป็นจริง” ก็คือ ไม่ ถูกปรุงแต่งด้วยโลภะ โทสะ หรือโมหะ แต่เห็นตามความเป็นจริงที่ไม่ ประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะของเรา คือเรามีสติรู้อยู่ว่าเขาเป็นแบบนี้ เกิดขึ้นมาแล้วเปลี่ยนแบบนี้ เป็นไปอย่างนี้
เห็นอย่างนี้ เขาเรียกว่า “เห็นด้วยความบริสุทธิ์ใจ” ไม่มีตัวปรุงแต่ง เข้าไปด้วย เห็นด้วยความบริสุทธิ์ ตามความเป็นจริง อันนี้เป็นสิ่งสาคัญ มาก ๆ เพราะส่วนใหญ่อาศัยความเคยชินของเรา อันไหนชอบเราก็จะชอบ เขาเรียก “ชอบมองเข้าข้างตัวเอง” เห็นอะไรก็จะเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ตรงที่


































































































   197   198   199   200   201