Page 200 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 200

176
เข้าข้างตัวเองก็คือ เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง เอาความเห็นของตัวเองเป็นที่ตั้ง เอา ความเชื่อของตัวเองเป็นที่ตั้ง เอาความชอบของตัวเองเป็นที่ตั้ง เมื่อเอา ความเชื่อ ความชอบ ความเห็น ความรู้ ของเราเป็นที่ตั้ง เราก็จะหาเหตุผล เข้าหาความชอบของตัวเอง หาเหตุผลเข้าหาความเห็นของตัวเอง หาเหตุผล เพื่อสนับสนุนความรู้ของเรา นั่นคือเอียงเข้าหาตัว
แต่ถ้าเรารับรู้ด้วยความรู้สึกที่ไม่มีตัวตน มีความว่าง พร้อมที่จะ เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัยในขณะนั้น เรื่องราวอย่างนั้น ให้ธรรมชาติ เหล่านั้นเขาประกาศตัวเขาเองว่าเป็นอย่างไร ธรรมชาติจะเป็นอย่างไร ? นั่น คือเขา “เป็นไปตามเหตุปัจจัย” ของเขา ไม่ใช่อยู่ที่เราชอบหรือไม่ชอบ เราก็ จะเห็นว่า อ๋อ! เป็นอย่างนี้เอง ธรรมชาติของอะไร ? ธรรมชาติของรูปคือ ร่างกาย ธรรมชาติของจิต ธรรมชาติของขันธ์ ๕ ว่าง่าย ๆ
ธรรมชาติของจิต ทาหน้าที่ “คิด” ทาหน้าที่ “ปรุงแต่ง” ทาหน้าที่ “รับรู้” เราเห็นอะไร จิตก็จะทาหน้าที่เห็น ทาหน้าที่รับรู้ และธรรมชาติของ จิตคือ ทาหน้าที่ “จา” เพราะฉะนั้น ที่เราปฏิบัตินี่ เราปฏิบัติเพื่ออะไร ? รู้ ธรรมชาติตรงนี้ ทีนี้ จิตนี่ ธรรมชาติเขารับรู้ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมา ทั้งดีและ ไม่ดี ไม่งั้นประสบการณ์ชีวิตเรา ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน เราแยกไม่ออก หรอก ถ้าเขาจาแต่ดีอย่างเดียว ไม่ดีเกิดขึ้นมาเราจาไม่ได้หรอก เราก็จะ ทาไม่ถูก เป็นเพราะว่ามีดีกับไม่ดีเกิดขึ้นมาให้เราเลือก ทาไมถึงเรียกว่า “ไม่ ดี” ? อะไรที่บอกว่า “ดี” ? ดีใน “บริบท” ไหน ?
หลักที่วัด เขาบอกว่า ให้มี “ศีล” เป็นตัวรองรับ พระพุทธเจ้าบัญญัติ ศีล ๕ ไว้ ที่เราสมาทานกัน ถ้าอยู่ในกรอบอันนี้ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี แต่ให้ดีมาก กว่านั้น ดียิ่ง ๆ ขึ้นไป ตรงที่ “ดียิ่งขึ้นไป” อะไรดี ? “จิต” ของเรา สังเกต ไหมว่า การที่เราทาจิตของเราให้เป็นกุศลมากขึ้น จิตเรายิ่งผ่องใสมากขึ้น สงบมากขึ้น ความดีของเราทาได้ง่ายขึ้น และจะทาอยู่ในกรอบของความดี โดยที่เราไม่ต้องระวัง จิตจะคอยเตือนว่า “ถ้าไม่ดี จิตขุ่นมัว” “ถ้าไม่ดี แล้ว


































































































   198   199   200   201   202