Page 202 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 202

178
ออก ไม่ไหลตาม คล้อยตามแต่ไม่ติด ยังแยกส่วนได้ รูปนี้หมุนไปตาม วัฏสงสารโดยธรรมชาติ เราห้ามความแก่ไม่ได้หรอก ห้ามการหมุนไปของ วัฏฏะตรงนี้ไม่ได้ แต่เมื่อเราแยกรูปนามออก จิตเราไม่แก่ตาม ไม่ห่อเหี่ยว ตามรูปที่ห่อเหี่ยว นี่คือการที่เราไม่ไหลตามการเป็นไปของรูป เราแยกรูปนาม ออก ทุกข์ก็ทุกข์กาย แต่ใจไม่ทุกข์ รูปมีเวทนา เห็นจิตกับเวทนาแยกส่วนกัน
เพราะฉะนั้น เวลามีผัสสะทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ทางตาเห็น ของสวย ๆ งาม ๆ เกิดความอยากขึ้นมา แล้วทาอย่างไร ? ที่เกิดขึ้นมานี่ พิจารณาว่า อยากหรือไม่อยาก ? ดีหรือไม่ดี ? สิ่งที่เกิดขึ้นมารอบตัวเรานี่ เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ ? อันไหนที่เป็นโทษไม่ควรเข้าไปเกี่ยวข้อง โลก เปลี่ยนไปไม่ใช่มีแค่โทษอย่างเดียว เหมือนลมหายใจที่เปลี่ยนไปเข้าออก ตลอดเวลา เราหายใจเข้าแล้วไม่หายใจออก ก็ตาย! การเปลี่ยนไปของลม หายใจคือ เอาของดีเข้าไป เอาของเสียออกมา เขาเปลี่ยนไปตามธรรมชาติเพื่อ การตั้งอยู่ของรูปอันนี้ โลกที่หมุนไป ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยตามธรรมชาติ เราไปหยุดให้โลก “อยู่” เหมือนสมัยก่อนก็ไม่ได้
พระพุทธเจ้าสอนให้เราอยู่กับปัจจุบัน ไม่ใช่ให้อยู่กับอดีต ที่พูด อย่างนี้หมายถึงว่า บางครั้งคนเราอยากให้เป็นเหมือนสองพันกว่าปีก่อน คงจะปฏิบัติได้ง่ายขึ้น สิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาปลุกเร้ากระตุ้นอารมณ์เรามีน้อย แต่ปัจจุบันมีเยอะ ถามว่า เราย้อนไปอยู่ในยุคนั้นได้ไหม ? พอให้ไปอยู่จริง ๆ จะ “รู้สึก” อย่างไร ? ก็เป็นไปไม่ได้ เราย้อนเวลาไม่ได้ แต่อย่างหนึ่งที่เรา “ทาได้” ไม่ว่าจะยุคไหนสมัยไหนก็คือ “หยุดจิตของเราให้จบแค่นี้” ไม่ไหล ตามอารมณ์ที่เกิดขึ้น
“หยุดแค่นี้” คืออย่างไร ? “พอใจ” กับความสุขที่เกิดขึ้น “พอใจ” กับความสงบ “พอใจ” กับความไม่ทุกข์ ไม่ดิ้นรน ไม่ทุกข์กับอารมณ์ที่เกิด ขึ้น ตรงนั้นแหละ “จิตเราจะหยุด” ถ้าจิตที่บริสุทธิ์เกิดขึ้นตรงนี้ ไม่ว่ายุคไหน สมัยไหน พ.ศ.ไหน ก็เป็นแบบเดียวกัน คนที่มีจิตใจบริสุทธิ์ในปัจจุบัน จิต


































































































   200   201   202   203   204