Page 223 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 223

199
นะ รูปที่นั่งอยู่นี้เขาไม่ได้บอกว่าเป็นเรา พระพุทธเจ้าจึงถามภิกษุทั้งหลาย ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอจะสาคัญความข้อนั้นเป็นไฉน... คาว่า “สาคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน” ตรงนี้จะเข้าใจว่าอย่างไร
รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? ภิกษุตอบว่า ไม่เที่ยง ตั้งอยู่ในสภาพเดิม ได้ไหม ? ภิกษุตอบว่า ตั้งอยู่ไม่ได้ เกิดแล้วก็ดับไป เขาใช้คาว่า “เป็นทุกข์ หรือเป็นสุขเล่า ?” เขาแปลอย่างนั้นนะ แต่ถ้าพูดถึงลักษณะของอาการ พระไตรลักษณ์ก็คือ เกิดแล้ว ตั้งอยู่ในสภาพเดิมได้ไหม ? ลักษณะของ ทุกข์คือ เกิดแล้วต้องดับไป ถามว่า เมื่อเกิดแล้วดับไป บังคับบัญชาเขาได้ ไหม ? ให้อยู่อย่างนั้นได้หรือเปล่า ? เป็นอัตตาหรืออนัตตา ? ตอบว่า เป็น อ น ตั ต า ค อื บ งั ค บั บ ญั ช า ไ ม ไ่ ด ้ เ ข า ต อ้ ง เ ป ล ยี ่ น ไ ป ด บั ไ ป อ ย เ่ ู น อื ง ๆ พ ร ะ พ ทุ ธ เ จ า้ ถามว่า เมื่อบังคับบัญชาไม่ได้ ควรหรือที่จะเข้าไปยึดว่าเป็นตัวเราของเรา ? ภิกษุทั้งหลายบอกว่าไม่ควร
เมื่อรูปเป็นอย่างนี้ แล้วเวทนาเป็นของเราหรือเปล่า ? เวทนาเที่ยง หรือไม่เที่ยง ? เวทนามีอะไรบ้าง ? เวทนาที่เกิดทางกายเป็นแบบไหน ? เจ็บ ปวด เมื่อย ชา คัน เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่งตึง ตรงนี้เป็นเวทนาทางกาย แล้วเวทนาทางใจคืออะไร ? เวทนาทางใจก็คือ สุข ทุกข์ อุเบกขา โทมนัส โสมนัส ลองสังเกตดูสิว่า เวลามีเวทนาเกิดขึ้น มีความปวดเกิดขึ้น มีอาการ เมื่อยอาการชาเกิดขึ้น เขาเป็นอยู่อย่างนั้นตลอดไหม ? เที่ยงไหม ? หรือเกิด แล้วเปลี่ยนแปลง แปรปรวนอยู่เรื่อย ๆ ?
โดยเฉพาะคนอายุ ๕๐ กว่า ๆ แล้ว ก็จะรู้ว่าแปรปรวนเป็นอย่างไร เวลาร่างกายมันรวน แปรปรวน เดี๋ยวอย่างนั้นเดี๋ยวอย่างนี้ เราจะเห็นว่า อ๋อ! ไม่เที่ยงจริง ๆ แม้แต่เด็กเองก็เป็น ถ้าเราสังเกตดี ๆ ก็จะเห็นว่า ร่างกายนี้เป็นของไม่เที่ยง แปรปรวน เปลี่ยนแปลง เวทนาที่เกิดขึ้นก็ไม่เที่ยง เดี๋ยวเปลี่ยน เดี๋ยวหนัก เดี๋ยวเบา เดี๋ยววิ่งไปตรงนั้น เดี๋ยววิ่งมาตรงนี้ เดี๋ยว ที่หลัง ที่ไหล่ ที่คอ ที่หัวเข่า เป็นไปทั่วร่างกาย นั่นคือเวทนาเป็นของไม่เที่ยง


































































































   221   222   223   224   225