Page 224 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 224

200
เมื่อไม่เที่ยงแล้ว เขาตั้งอยู่อย่างนั้นไหม หรือเกิดแล้วดับ เกิดแล้วดับ เกิด แล้วดับ...? นี่คือการพิจารณาตามคาสอนของพระพุทธเจ้า
พระพุทธเจ้าถามภิกษุว่า เวทนาเป็นของเที่ยงหรือไม่เที่ยง ? เรา ศึกษา เราก็พิจารณาตามดูสิว่ามันเที่ยงหรือไม่เที่ยง เราจะได้เห็นตามความ เป็นจริง เมื่อเห็นว่าไม่เที่ยง แล้วบังคับให้เขาหายได้ไหม ? ก็บังคับไม่ได้ บังคับไม่ได้เรียกว่าอะไร ? ก็คือ “ความเป็นอนัตตา” นั่นเอง ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เวทนาก็สักแต่เวทนา เกิดขึ้นมา เปลี่ยนแปลง ตั้งอยู่ และ ดับไป ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัยเท่านั้นเอง เมื่อเป็น ไปตามเหตุตามปัจจัย แล้วควรหรือที่จะยึดว่าเวทนานั้นเป็นของเรา ?
ไม่ว่าจะเป็นเวทนาทางกายหรือทางจิต ถ้าเราพิจารณาด้วยความ รู้สึกที่ไม่มีตัวตน เราจะเห็นว่าแม้ไม่มีตัวตน เวทนาทางกายก็เกิดได้ เมื่อ มีเวทนาทางกายเกิดขึ้น แล้วพิจารณาอย่างไม่มีตัวตน ก็ไม่ทาให้ทุกข์กับ เวทนานั้น ไม่เข้าไปยึด หรือไม่มีอุปาทาน เพราะอะไร ? เพราะเราเห็นว่า เวทนาที่เกิดขึ้นกับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เป็นคนละส่วนกัน แล้วเห็นด้วยว่าเวทนา นั้นแสดงความเป็นธรรมชาติธรรมดา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เปลี่ยน แปลงไปเรื่อย ๆ
เมื่อพิจารณาด้วยสติและปัญญาในลักษณะอย่างนี้ จิตก็ไม่เข้าไปยึด มั่นถือมั่นว่าเป็นของใคร ก็จะเห็นว่าเวทนาก็สักแต่ว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เมื่อเห็นตามความเป็นจริงเช่นนั้นแล้ว จิตก็จะอิสระ ไม่ถูก พันธนาการด้วยโมหะ ด้วยความหลง ความเข้าใจผิด ตรงนี้เกิดจาก สัมมาทิฏฐิ เห็นตามความเป็นจริงว่าเขาเป็นอย่างนั้นแหละ นั่นคือเห็นแต่ ความไม่มีตัวตน ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเราของเรา
สัญญา ความจาได้หมายรู้ จาได้ว่าสิ่งนั้นคืออะไร สิ่งนี้คืออะไร หน้าที่ของตัวสัญญา เขาทาหน้าที่จา ถึงไม่มีเจตนา เขาก็จา ทาไมถึงบอกว่า “ถึงไม่มีเจตนา เขาก็จา” ? เขาจาในสิ่งที่จิตรับรู้ และมีกาลัง ถ้าอารมณ์นั้น


































































































   222   223   224   225   226