Page 226 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 226

202
อยู่เสมอ เกิดขึ้นใหม่ก็สดใสเบิกบานขึ้นมาใหม่ แต่ถ้าทาใจไม่ได้ เราหดหู่ ห่อเหี่ยวแล้วแก่แน่นอน แก่ทั้งกายแก่ทั้งใจ ไม่มีความสดชื่น ไม่มีความ เบิกบาน เกิดความห่อเหี่ยวหดหู่ไป เพราะฉะนั้น นี่คือธรรมชาติ
ตวั วญิ ญาณคอื อะไร ? ตวั วญิ ญาณกค็ อื ตวั จติ ทที่ า หนา้ ทรี่ ู้ วญิ ญาณรู้ กายวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ จักขุวิญญาณ อาศัยอะไรเกิด ? รับรู้ทางไหนก็เรียกชื่อตามนั้น รับรู้ทางตาก็เรียกจักขุ วิญญาณ รับรู้ทางหูก็เรียกโสตวิญญาณ รับรู้ทางลิ้น รู้รสอาหาร เขาเรียก ชิวหาวิญญาณ สัมผัสรู้ทางกาย มีอะไรกระทบ รู้ว่าเย็นว่าร้อนว่าปวด เขา เรียกกายวิญญาณ เพราะฉะนั้น คาว่า “วิญญาณ” คือ จิตที่ทาหน้าที่รู้ เขา ทาหน้าที่รู้ของเขา ถึงแม้ไม่อยากรู้ เขาก็รู้ ถ้ามีผัสสะเกิดขึ้น นั่นคือธรรมชาติ ถามว่า บอกว่าเป็นของเราหรือเปล่า ?
ถ้าเราแยกรูปนามชัดเจน เราจะเห็นว่าแม้แต่ตัวรู้เองก็ไม่บอกว่า เป็นของเรา แล้วตัวรู้เที่ยงอยู่อย่างนั้นไหม ? ยิ่งพิจารณาก็จะเห็นว่า แม้แต่ ตัวรู้เองก็ไม่เที่ยง เกิดขึ้นมา ทาหน้าที่รับรู้ แล้วก็ดับไป แล้วก็เกิดใหม่... มีการเกิดและดับ เกิดและดับ สืบต่อกันไปเป็นอนันตรปัจจัย อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย เมื่อเราพิจารณารู้อย่างนี้ เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ แล้วคิด ว่าอย่างไร ? ควรหรือที่จะเข้าไปยึดว่าเป็นตัวเราของเรา ? แล้วถ้ายึดว่าเป็น ตัวเราของเราเมื่อไหร่ จะเป็นอย่างไร ? ให้ความสุขหรือความทุกข์ ? เกิด ความรู้สึกอิสระหรือถูกพันธนาการ ?
ถ้าสังเกตดี ๆ เราจะถูกพันธนาการด้วยเรื่องนั้นเรื่องนี้ ถูกผูกยึด เอาไว้ ไม่ยอมปล่อย หรือปล่อยไม่ได้ ทาไมถึงปล่อยไม่ได้ ? เพราะเราไม่รู้ หรือขาดตัวปัญญานั่นเอง! เพราะความไม่รู้นั่นแหละ จึงเข้าไปยึดว่าสิ่งนั้น เป็นของเรา รูปเป็นของเรา เวทนาเป็นของเรา สัญญาเป็นของเรา สังขาร เป็นของเรา และการ “ยึด” ก็ไม่ได้ยึดแค่รูปนามของตนเอง บางคนเข้าใจว่า เรื่องส่วนตัวไม่ยึดเลย วางได้หมด แต่ห่วงอยู่อย่างเดียวคือห่วงหลาน


































































































   224   225   226   227   228