Page 242 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 242

218
เพราะฉะนั้น การปฏิบัติธรรมในแต่ละวัน แต่ละวัน เราจะได้พิจารณา ถึงความเป็นไปของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ของสภาพจิตของเราที่เปลี่ยนไป ว่า เขาเปลี่ยนไปอย่างไร เจตนาตรงนี้ต้องมีและต้องชัดเจน เพราะจะได้รู้ว่า การปฏิบัติธรรมของตัวเราเองพัฒนาไปบ้างไหม หรือเป็นอย่างไร การปฏิบัติ ธรรมของเราที่บอกว่า “ปฏิบัติธรรม ปฏิบัติธรรม” นี่ คืออะไร ? จริง ๆ แล้วคือการมีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน แล้วพิจารณาอาการพระไตรลักษณ์ ศึกษา ธรรมะ เขาเรียก “ธัมมวิจัย” ที่เรียก “ไตรสิกขา” ก็คือศึกษา ๓ อย่าง คือ เรื่องศีล สมาธิ ปัญญา
ทีนี้ การพิจารณารูปนามขันธ์ ๕ ของกายของจิตเราที่กาลังเป็นไป ตรงนี้แหละเรามารู้ของจริง การปฏิบัติธรรมก็คือ ดูสภาพธรรมจริง ๆ ที่ เกิดขึ้นในปัจจุบัน ขณะนี้ เดี๋ยวนี้ จริง ๆ ว่าเป็นอย่างไร ธรรมะคืออะไร ? จริง ๆ แล้วถ้าเราสังเกตดี ๆ ธรรมะก็คืออาการของรูปนามขันธ์ ๕ ของชีวิต ของเรา เป็นไปในชีวิตประจาวันนี้แหละ ที่เราพิจารณาอยู่ทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น กาหนดอิริยาบถหลัก การยืน การเดิน การนั่ง การนอน หรือในอิริยาบถย่อย ในการเคลื่อนไหว หยิบจับ ทาพูด การดู การเห็น การกระพริบตา อ้าปาก ต่าง ๆ นี่ สังเกตไหมว่า ก็คืออาการของธรรมชาติของเราที่กาลังเป็นไปอยู่ ทุกวันนี้แหละ ไม่มีอะไรเลยที่พิสดารกว่าปกติ
ปฏิบัติธรรมไม่ได้ทาอะไรที่พิสดารกว่าปกติ แต่ตัวที่ต่างไปก็คือ “เพิ่มสติ” ให้มากขึ้น มีเจตนาหรือใส่ใจให้มากขึ้นกับการปฏิบัติของเรา ใส่ใจ อะไร ? ใส่ใจเรื่องของอารมณ์ปัจจุบัน “อารมณ์ปัจจุบัน” คือ ทั้งอาการของ กายอาการของจิตเรานั่นแหละ ใส่ใจทั้งหมดเลย ใส่ใจ สังเกตดูว่า เป็นไป ในลักษณะอย่างไร ? อีกอย่างหนึ่งก็คือว่า การที่เราดูกาย การเคลื่อนไหว อาการต่าง ๆ ของร่างกายเรา ไม่ว่าจะหยิบจับ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะ นอน จะพูด ลองดูว่า อาการของร่างกายของเรานี่ เขาเป็นไปด้วยเหตุอะไร ? สังเกตดู


































































































   240   241   242   243   244