Page 244 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 244

220
เบียดเบียนผู้อื่น ก็เป็นเหมือนศีลโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้น การที่เราดูกาย ดูจิตของเรา เราเห็นทั้งกายและจิตไปในตัว แล้วยิ่งเราสังเกตอาการของจิตเรา การดูจิตของเราบ่อย ๆ พิจารณาดูจิตแต่ละครั้ง แต่ละครั้ง ไม่ใช่แค่รู้ว่าจิตเรา คิดหรือไม่คิด... คิดอะไร ? คิดแล้วดีไม่ดี ? ตรงนี้ที่เราต้องพิจารณา คิดใน สิ่งที่เป็นโทษ ? คิดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ? เบียดเบียนตนเอง ? เบียดเบียน ผู้อื่น ? หรือคิดเปล่าประโยชน์ ? คิดในเรื่องที่ไร้สาระ ?
บางครั้งเรื่องที่เป็นสาระแต่ไม่เห็นเป็นสาระก็มี เรื่องที่ไม่เป็นสาระ เอาเป็นสาระก็มี เพราะอะไร ? บางทีเราพิจารณาไม่ชัดเจน แต่ถ้าเราพิจารณา ดี ๆ มีสติคอยดู รู้ถึงเหตุและผล รู้ถึงประโยชน์ ไม่ใช่ประโยชน์ ในความ คิดที่เกิดขึ้น เราจะรู้ว่าเวลาคิดแต่ละครั้ง ความคิดเราเป็นความคิดที่เป็น สาระหรือไม่เป็นสาระ ตรงนี้เราก็จะเป็นคนเลือก เราคิดอย่างมีสติ เราเลือก ให้ความสาคัญกับเรื่องที่เป็นสาระหรือไม่เป็นสาระ ตรงนี้คือตัวปัญญาใน การเลือก มีสติ มีปัญญา มีเจตนาชัดเจนในการเลือกอารมณ์ และในการ กระทาตามความคิดนั้น ๆ ว่าเราจะทาอย่างไร
นอกจากการพิจารณาดูกายดูจิตตรงนี้ ที่รู้ว่าคิดด้วยจิตประเภทไหน บางทีก็อาศัยการเห็นเป็นเหตุ โลภะเป็นปัจจัยหรือโทสะเป็นปัจจัยให้การ กระทาเหล่านั้นเกิดขึ้น เราจะเห็นว่ากิริยาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนี่เกิดขึ้น ด้วยจิตประเภทไหน และเราจะเห็นชัดถึงความเป็นไปของรูปนามขันธ์ ๕ จริง ๆ แล้ว ชีวิตของเราทุกวันก็ถูกผลักดันด้วยจิต ด้วยความอยากความ ไม่อยาก ด้วยปัญญา ด้วยความเฉย ๆ กับอารมณ์ ถ้าเป็นไปด้วยปัญญาใน การพิจารณาสภาวะ อย่างเช่น เราดูสภาวธรรม มีสติรู้อยู่กับอารมณ์ เราก็ จะเลือกถูกว่าอะไรดีอะไรไม่ดี หรือควรไม่ควรทา เพราะฉะนั้น ในการ ปฏิบัติธรรมของเรา ถ้าเราพิจารณาแบบนี้ เราก็จะเห็นชัดถึงความเป็นไป
แล้วอีกอย่างหนึ่ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติมา บางครั้งเราไม่แน่ใจว่า สภาวธรรมของเราก้าวหน้าไหม วิธีพิจารณาอย่างหนึ่งก็คือ “อาการเกิดดับ


































































































   242   243   244   245   246