Page 246 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 246

222
เวทนาอย่างเดียว จะรู้จิตอย่างเดียว จะรู้ธรรมอย่างเดียว เพราะสภาวะ เหล่านี้เขาเกิดพร้อม ๆ กัน ในขณะเดียวกัน บางครั้งอาการเกิดดับของรูป นั่นแหละคืออาการของกาย แล้วขณะที่เห็นอาการเกิดดับของรูปไปเรื่อย ๆ รู้สึกสงบขึ้น ใสขึ้น นั่นแหละคือลักษณะของเวทนา เวทนาที่เกิดทางจิตเรา มีความสุขมากขึ้น สงบขึ้น ตรงนั้นแหละ...
มีความสุขมากขึ้นก็เป็นสุขเวทนา รู้สึกสบายก็เป็นโสมนัสเวทนา อาจจะไม่ถึงสุขทีเดียว เรารู้สึกไม่ได้สุขมาก แต่รู้สึกสบาย ๆ นั่นคือเวทนา ที่เกิดขึ้น ลักษณะของจิตก็คือตัวความรู้สึกที่สุขนั่นเอง เห็นไหม เป็นตัว เดียวกัน! สภาวธรรมก็คือ อาการของรูป อาการของจิต ที่กาลังปรากฏตรง นั้นแหละ ฉะนั้น ดูกาย เวทนา จิต แล้วก็ธรรม ก็อาศัยอารมณ์เดียวกัน ปรากฏเพยี งแตว่ า่ อาการไหนปรากฏเดน่ ชดั ทเี่ ปน็ ประธานชดั ขนึ้ มาเทา่ นนั้ เอง
แล้วอีกอย่างหนึ่ง การกาหนดรู้อารมณ์เหล่านี้ในการเจริญสติปัฏฐาน ๔ นั้น สิ่งสาคัญเลยในการปฏิบัติของเราคือ “พิจารณาอาการพระไตรลักษณ์” คือ การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ของเขา ตรงนี้เป็นส่วนสาคัญ ลักษณะของ อาการเกิดดับนั่นเอง! ไม่ว่าจะปฏิบัติถึงตรงไหนก็ตาม สภาวะจะดีขึ้น สูงขึ้น ก้าวหน้ามากขึ้นอย่างไร ก็ยังต้องอาศัยอาการเกิดดับของรูปนามอยู่ดี ถึงแม้ ว่าบางครั้งรูปบัญญัติหายไป แต่อาการที่ปรากฏก็ยังต้องอาศัยรูปนามอยู่ดี เพียงแต่ว่าอาศัยรูปนามภายนอกหรือภายในเท่านั้นเอง
อาศัยอารมณ์ภายนอก คืออะไร ? อาศัยอารมณ์ภายนอกก็คือ บางที ได้ยินเสียงดังเข้ามา เห็นอาการเกิดดับของเสียง แล้วเข้าไปรู้อาการเกิดดับ ของเสียง เสียงตรงนั้นก็เป็นรูป เพราะฉะนั้น เราเข้าไปกาหนดรู้อาการเกิด ดับของเสียง ก็คือดูอาการเกิดดับของรูป แต่เป็นการอาศัยอารมณ์ภายนอก ที่จริงแล้วทุก ๆ อาการที่เกิดขึ้น เราต้องอาศัยอย่างใดอย่างหนึ่งให้จิตเราได้ รับรู้ ถ้าไม่มีอาการอะไรเกิดขึ้น อยู่ ๆ แล้วจิตจะรับรู้อะไร ?


































































































   244   245   246   247   248