Page 247 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 247

223
ที่บอกว่ารับรู้ความว่าง ความว่างเองก็ต้องรู้ว่า ว่างแบบไหน ? อะไร ว่าง ? ความรู้สึกว่าง หรือแค่บรรยากาศว่าง ๆ ? ถ้าเรามีสติดี รูปว่าง รูป หายไป แล้วใจรู้สึกว่าง ๆ ความว่างนั้นก็ยังต้องรู้ว่า ว่างแบบเบา ว่างแบบใส ว่างสงบ ว่างแล้วให้ความรู้สึกตั้งมั่น มั่นคง หนักแน่น ตื่นตัว ? ความว่าง ที่เกิดขึ้น ถ้าเรา “รู้ชัด” ว่าจิตเราว่าง ๆ ใส ๆ หรือเบา ๆ ความว่างตรงนั้น จะมี “การเปลี่ยนแปลง” ถ้าเข้าไปรู้ตรงที่ความรู้สึกที่ว่าง ความรู้สึกที่ว่างเอง ก็จะมีการเปลี่ยนแปลง
แต่ถ้าเรารู้ถึงความว่าง แต่จับไม่ถูกความรู้สึก ก็คือดูจิตนั่นแหละ แค่เห็นว่าบรรยากาศข้างนอกว่าง ๆ บางทีโยคีบางครั้งจะเกิดความรู้สึกว่า พอเข้าไปรู้ตรงที่ความว่างนั้น แล้วไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เข้าไปความว่าง ตรงไหน ? ความว่างข้างหน้า ความว่างที่ไกล ๆ หรือความว่างข้างในความ รู้สึกลึก ๆ ? อันนี้ต้องสังเกตนะ ถ้าเราสังเกตจะเห็นว่า ตัวความรู้สึกที่ว่าง ก็เป็นอารมณ์ของจิตที่ทาหน้าที่รู้ ความรู้สึกที่ว่าง ว่างแบบอุเบกขา ว่างแบบ มีความสุข ว่างแบบให้ความรู้สึกดี ? ตรงนี้สังเกต!
แล้วสภาวธรรมที่เกิดจากอารมณ์ต่าง ๆ บางทีโยคีมากังวลกับ เป็น กิเลส ? ไม่เป็นกิเลส ? ที่จริงลักษณะของจิตที่ปรากฏขึ้นมาด้วย เราจะรู้สึก ได้ทันที! รู้สึกขุ่นมัว รู้สึกกระสับกระส่าย รู้สึกวุ่นวาย รู้สึกไม่สงบ ถามว่า กิเลสตัวไหน ? อย่าเพิ่งไปหาชื่อว่ากิเลสตัวนั้นเกิดตัวนี้เกิด ให้ไปรู้เลยว่า เขาเกิดแล้วเขาดับอย่างไร ? เข้าไปรู้แล้วเขาดับไหม ? หรือดับเร็วดับช้า อย่างไร ? มีสติเข้าไปกาหนดรู้ดูว่าเขาเกิดแล้วดับอย่างไร อันนี้จะเร็ว! แต่ถ้า เราไปหาชื่อ ไปใส่ชื่อให้เขาก่อน ติดป้ายก่อน เราก็ใช้เวลานานนิดหนึ่ง บางที กว่าจะเลือกชื่อได้ถูกว่าอันนี้เรียกว่าอะไรก็ใช้เวลานาน จริง ๆ ให้รู้สึกชัดตาม ความเป็นจริงขณะนั้นแหละ
บางทีรู้สึกเหนื่อยขึ้นมา เราทาอย่างไรกับอาการเหนื่อย ? ทาอย่างไร จิตถึงจะมีกาลังขึ้น ? เพิ่มพลังไหม ? เพิ่มอย่างไรทาให้จิตมีกาลังมากขึ้น ?


































































































   245   246   247   248   249