Page 250 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 250

226
อย่างหนึ่งก็คือ ลักษณะของตัวสภาวธรรมที่อาศัยเสียงเกิดขึ้น ก็คือ ลักษณะ ของอาการเกิดดับของเสียงเองว่า มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในลักษณะ อย่างไร ? เกิดอยู่ในบรรยากาศแบบไหน ? ตรงที่ “เกิดอยู่ในบรรยากาศแบบ ไหน” นี่สาคัญมาก ๆ ถ้าเรามีเจตนาให้เขาเกิดอยู่ในบรรยากาศได้นี่ จะดี!
ถามว่า ตรงนี้เราเป็นคนเลือก ใช่ไหม ? ใช่ ตรงนี้เราเป็นคนกาหนด เองว่าจะให้เสียงที่ได้ยินตั้งอยู่ในบรรยากาศแบบไหน อยากให้เสียงที่ได้ยิน หรือภาพที่เห็นเกิดขึ้นอยู่ในบรรยากาศแบบไหน เราก็มาทาจิตของเราให้ เป็นอย่างนั้นก่อน อย่างเช่น ถ้าอยากให้เสียงตั้งอยู่ในบรรยากาศของความ สงบ ก็มาทาจิตของเราให้สงบ หรือดูที่ความรู้สึกที่สงบ แล้วขยายความรู้สึก ที่สงบให้กว้างออก แล้วให้เสียงเกิดอยู่ในความสงบ อันนั้นแหละเรามี “เจตนา” ที่จะรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ ว่าให้เกิดอยู่ในบรรยากาศแบบไหน
ตรงจิตที่สงบ จิตที่ว่าง จิตที่เบา จิตที่มีความสุข ตรงนี้เราสามารถ กาหนดได้ เพราะนั่นคือการยกจิต ยกจิตขึ้นสู่ความว่าง ยกจิตขึ้นสู่ความ สงบ ยกจิตขึ้นสู่ความสุข เมื่อยกจิตขึ้นสู่ความว่างแล้วรู้สึกว่าง นั่นคือการ ยกจิต ยกจิตขึ้นสู่ความว่างแล้วทาให้ใจเรารู้สึกว่าง กว้าง เป็นบรรยากาศ บรรยากาศตรงนั้นก็จะเป็นบรรยากาศของความรู้สึกที่ว่าง เมื่อเป็นบรรยากาศ ของความรู้สึกที่ว่าง เราจึงสามารถที่จะกาหนดให้เสียงนั้นเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ ได้ ถ้าความรู้สึกเราสงบ แล้วขยายความรู้สึกที่สงบกว้างออกจนเป็น บรรยากาศ กว้างกว่าตัว กว้างรอบตัว หรือกว้างเท่ากับธรรมชาติไป ก็ให้มี เจตนาให้เสียงนั้นเกิดอยู่ในบรรยากาศของความสงบ
ถ้าอารมณ์เหล่านั้นหรือเสียงเกิดอยู่ในบรรยากาศของความสงบ ลองสังเกตดูว่า การที่เรารับรู้เสียงที่เกิดอยู่ในความสงบ การรับรู้ขณะนั้น มี ความรู้สึกว่าเป็นเรารับรู้ ? มีตัวตนหรือไม่มีตัวตน ? และการรับรู้ตรงนั้น รู้สึกไหมว่ารับรู้ผ่านความสงบนั้นด้วยหรือเปล่า ? และยิ่งเห็นอาการเหล่านั้น เกิดขึ้นดับไปในความสงบ ยิ่งกาหนดรู้มากเท่าไหร่ ทาให้สภาพจิตเราเปลี่ยน


































































































   248   249   250   251   252