Page 251 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 251

227
ไปอย่างไร ? นิ่งขึ้น สงบขึ้น ตื่นตัวมากขึ้นหรือเปล่า ? อันนี้คือสิ่งที่ต้อง สังเกต และเมื่อจิตเรารู้สึกสงบขึ้น ตั้งมั่นขึ้น ลักษณะอาการเกิดดับของ เสียงเอง เขาดับแบบมีเศษไหม ? ดับแบบเด็ดขาดมากขึ้นไหม ? นั่นคือการ สังเกตอาการของเสียงว่าเกิดดับในลักษณะอย่างไร
แล้วอีกอย่างหนึ่ง ถ้าสังเกตต่อไปอีกว่า ขณะที่รับรู้ผ่านบรรยากาศ ของความสงบ ความว่าง ความเบา ถามว่า มีกิเลสตัวไหนเกิดขึ้นไหม ? มี ตัวไหนเข้าไปผสมโรง ? มีความอยาก ไม่อยาก ? ยิ่งเห็นชัดถึงธรรมชาติ ของเสียงที่มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วทาให้จิตใจเรารู้สึกอย่างไร ? ผ่อน คลายมากขึ้น ตั้งมั่นมากขึ้น แต่ไม่เข้าไปยึดติดในอารมณ์ หรือไม่เข้าไปยึด เอาว่าเป็นตัวเราของเรา เพราะฉะนั้น การรับรู้แบบนี้ ลองดูว่า มีกิเลสหรือ ไม่มีกิเลส ? เห็นไหม รับรู้ด้วยเจตนาทั้งสิ้น
ตรงที่มี “เจตนาในการรับรู้” แบบนี้ เป็นการรับรู้อย่างมีสติสัมป- ชัญญะ คือมีสติรู้ตัวทั่วพร้อมในขณะนั้น ๆ รู้ชัดว่าเรารู้แบบนี้ คาว่า “รู้ตัว ทั่วพร้อม” รู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นชัดเจนว่าเป็นอย่างไร ไม่ใช่รู้แบบเบลอ ๆ เลือน ๆ ลอย ๆ พร่า ๆ ไม่ชัดเจน มัว ๆ หรือรู้แบบสติอ่อน ครึ่งหลับครึ่งตื่น แต่รู้ ชัดเจนเลยว่าเขาเป็นอย่างนั้น คือรู้อย่างมีสติสัมปชัญญะ ขณะนี้เดี๋ยวนี้ที่ บอกว่าเป็น “ปัจจุบันขณะ” จริง ๆ การรับรู้สภาวธรรมที่กาลังปรากฏใน ปัจจุบันขณะจริง ๆ จะเห็นว่าทาให้สภาพจิตใจเราเป็นอย่างไร มีการปรุงแต่ง หรือไม่มีการปรุงแต่ง
ตรงที่เรารู้อาการเกิดดับ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ไม่เข้าไปปรุงแต่ง ตรงนั้นที่เรียกว่า “จิตเป็นกลาง” ไม่มีการปรุงแต่ง ไม่มีความยินดี ไม่มีการ ปฏิเสธ มีแต่จิตที่ตั้งมั่นในการรับรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น การที่เรา รู้อารมณ์ปัจจุบันตรงนี้ รู้บ่อย ๆ รู้อย่างต่อเนื่อง การที่เรารู้บ่อย ๆ รู้อย่าง ต่อเนื่องในชีวิตประจาวันของเรา ทั้งอิริยาบถหลัก อิริยาบถย่อย คอยสังเกต อาการของตนเอง เราจะเห็นได้ชัดว่า อารมณ์ไหนเกิดจากอะไร ? เกิดจาก


































































































   249   250   251   252   253