Page 280 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 280

256
ไตรลักษณ์ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป อยู่เสมอ เมื่อเห็นการเปลี่ยนแปลงอยู่ เนือง ๆ อุปาทานการยึดมั่นถือมั่นในรูปนามก็จะค่อย ๆ ละไปดับไป
สังเกตไหมว่า การที่เราพิจารณารู้อาการเกิดดับของรูปนาม ไม่ว่า จะเป็นพองยุบ เป็นเวทนา เราไม่ต้องไปกังวลเรื่องกิเลสเลย เราไม่ต้องไป กังวลเรื่องโลภะ โทสะ โมหะเลย เพราะอะไร ? เพราะถ้าเรากาหนดรู้อย่าง ไม่มีตัวตน และมีสติอยู่กับปัจจุบัน โลภะ โทสะก็ไม่เกิด แต่ในขณะเดียวกัน ขณะที่เห็นอาการเกิดดับของรูปนาม สิ่งที่ตามมากลับทาให้จิตเราผ่องใสขึ้น สะอาดขึ้น เบาขึ้น โล่งขึ้น สว่างขึ้น นั่นล่ะ เหตุผลว่าทาไมเราต้องกาหนดรู้ อาการเกิดดับของรูปนาม
ทุก ๆ อารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอารมณ์กรรมฐานได้ทั้งหมด เมื่อเรามี เจตนาที่จะรู้อาการเกิดดับของเขา ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทา พูด คิด เป็นอารมณ์กรรมฐานทั้งหมด เพราะฉะนั้น การเจริญกรรมฐานไม่ต้องเลือก เวลา ไม่ต้องมีพิธีรีตองอะไรมากหรอก การเจริญสติ แค่เรามีสติรู้ชัดในสิ่ง ที่เกิดขึ้น เพียงแต่เรารู้ “เจตนา” ของเราชัดเจนว่าเราจะรู้อะไร ถ้าเรารู้ดับ ทุกข์ เราก็จะดับทุกข์ได้ อ้อ! ดับแบบนี้ ถ้าจะรู้อาการเกิดดับของรูปนาม ก็ต้องทาอย่างนี้ เมื่อทาไปแล้ว สภาพจิตใจเราเป็นยังไง ผลที่ตามมาเป็น ยังไง เราก็ต้องรู้
ไม่ใช่อาจารย์บอกว่าดี ก็ดี! ครูบาอาจารย์บอกว่าดีก็ดี โดยที่ตัวเอง งง ๆ ว่ามันดีตรงไหน อันนั้นไม่ได้! ที่เขาเรียกว่าเป็น “ปัจจัตตัง” ที่จริง เรารู้ได้ด้วยตนเอง รู้ได้ด้วยตนเองก็คือ ผลที่เกิดขึ้นเราจะรู้ได้ด้วยตนเอง ว่าสภาพจิตใจเป็นอย่างไร แต่วิธีการปฏิบัติ เรายังต้องอาศัยครูบาอาจารย์ ชี้แนะ ไม่งั้นเราก็ทาไม่ถูก เมื่อทาไม่ถูก การปฏิบัติของเราจะเป็นอย่างไร ? ผลของการปฏิบัติของเราจะเป็นอย่างไร ? อันนี้เป็นสิ่งสาคัญ
อย่างไรก็ตาม ถ้าเราต้องการที่จะปฏิบัติเพื่อความดับทุกข์ เป้าหมาย ของเราชัดเจนแล้วจะง่าย ถึงแม้ไม่ดับอย่างสิ้นเชิง ถึงแม้ดับชั่วขณะหนึ่ง


































































































   278   279   280   281   282