Page 281 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 281

257
ครั้งละชั่วโมงสองชั่วโมง ก็ถือว่าเป็นอานิสงส์อย่างมากแล้ว อยู่ที่เราดับ บ่อย ๆ ไม่ต้องรอให้ทุกข์เต็มที่แล้วค่อยดับ บางครั้งก็จะมีแหละ เวลามีความ ทุกข์เกิดขึ้นมาก็ไม่รีบดับ อยากเสวยความทุกข์ให้เต็ม รู้สึกอิ่มหนาสาราญ ใจ แล้วค่อยดับ เขาเรียก “จนสะใจ” แล้วค่อยดับ บางทีก็จะเป็นอย่างนั้น
การที่เรามากาหนดรู้อาการเกิดดับของรูปนาม ที่จริงแล้วคือ รู้ “ก่อน” ที่ความทุกข์จะเกิดด้วยซ้า การที่เรามาฝึกจิตของเรา ปัญญาของเรา ให้รู้แจ้งเห็นจริงตามธรรมชาติของรูปนาม แล้วจะไม่ทุกข์กับอารมณ์ที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ไม่ต้องรอให้ทุกข์ก่อนแล้วค่อยทา ทาตอนที่ยังไม่ทุกข์นี่แหละ สติเราจะดี! เมื่อทุกข์ขึ้นมาเราก็จะได้รู้เท่าทัน อ๋อ! เคยเห็นแล้ว ทุกข์ทาง กายเราอาศัยการเปลี่ยนอิริยาบถ ทุกข์ทางใจอาศัยเปลี่ยนอะไร ? ทุกข์ทาง ใจก็ต้องเปลี่ยนความคิด เปลี่ยนทัศนคติใหม่ วิธีเปลี่ยนก็คือ ต้องเห็น ความจริง แล้วเราก็ยอมรับความจริงตรงนั้นได้ ความทุกข์ก็จะน้อยลง ความ จริงคือ ไม่มีอะไรเป็นของเรา มีแต่รูปนามที่กาลังเป็นไปตามเหตุปัจจัย แล้ว เกิดดับอยู่เนือง ๆ
รู้สึกเป็นไง ? เข้าใจขึ้นบ้างไหม ? ปกติอาจารย์จะใช้วิธีส่งอารมณ์ เป็นสาคัญ เวลาปฏิบัติก็ให้โยคีปฏิบัติกัน ถ้าสงสัยก็จะได้บอกชัด ๆ ว่าควร กาหนดอย่างไร อันนี้พูดรวม ๆ ถ้าโยคีฝึกได้ อาจารย์ก็สบายขึ้นเยอะ เวลานั่งก็จะรู้สึกนั่งอยู่บนที่ว่าง ๆ เบา ๆ เวลาตามรู้อารมณ์เกิดดับ ก็จะรู้ อย่างไม่มีตัวตน ไม่ต้องเครียด! ปฏิบัติธรรมไม่ต้องเครียด เคร่งได้ แต่ไม่ ต้องเครียดหรอก แต่เวลาทาต้อง “เคร่ง” คือทาจริง แต่ถ้าเครียด ไม่ใช่ แล้วนะ บอกวิธีแก้ความเครียด วิธีดับทุกข์แล้ว ฉะนั้น ต้องนาไปใช้
วันนี้ขอจบไว้แต่เพียงเท่านี้ก่อน ขอให้ทุกคนจงมีความเจริญในธรรม ยิ่ง ๆ ขึ้นไป เจริญพร


































































































   279   280   281   282   283