Page 283 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 283

259
ปรากฏขึ้นมาในแต่ละคน ความชัดเจนก็อาจจะแตกต่างกันออกไป บางคน จะชัดที่พองยุบ บางคนชัดที่ลมหายใจเข้าออก บางคนชัดที่อาการเต้นของ หัวใจ เพราะฉะนั้น การที่เราเข้าไปกาหนดรู้อาการพองยุบ สังเกตไหมว่า ท่านให้เราพิจารณารู้ถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็คือพิจารณารู้ถึง ความเป็นอาการพระไตรลักษณ์ ลักษณะที่เสมอกันแก่สังขารทั้งปวง คือมี การเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
เรา “รู้” ว่าสังขารร่างกายจิตใจของเรามีการเปลี่ยนแปลงเกิดดับ อยู่เสมอ แต่ถามว่า เคย “เห็น” บ้างหรือยัง ? อันนี้สาคัญนะ การที่เรา กาหนดรู้เพื่อให้เราเห็นด้วยตนเอง เห็นจริง ๆ ว่าเขาเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่เชื่อ ตาม ๆ กัน เพราะฉะนั้น เวลาที่เราพิจารณากาหนดรู้อาการของพองยุบ จึง ต้องมี “เจตนา” ที่จะรู้ว่า พองออกไปแล้วเขาดับยังไง ? ยุบเข้ามาแล้วดับ ยังไง ? และระหว่างพองออกไป อาการพองเขาเป็นเส้น หรือมีอาการสะดุด มีอาการดับเป็นขณะ ๆ ? อันน้ีคือการสังเกตรายละเอียดของอาการพองยุบ รู้อาการเกิดดับของอาการพองยุบ หรือที่เรียกว่า “ดูกายในกาย”
ถามว่า ขณะที่เรารู้กายในกาย รู้อาการเกิดดับของกายของเรา เรา “เห็นจิต” เราด้วยไหม ? อันนี้เป็นผลที่ตามมา เมื่อไหร่ก็ตามที่เรามีสติรู้อยู่ กับปัจจุบัน เห็นถึงอาการเกิดดับของอาการพองยุบ หรืออาการของ ลมหายใจเข้าออก ลองสังเกตดูนะ จิตใจรู้สึกยังไง ? มีความนิ่ง หรือ ซัดส่าย ? กระสับกระส่าย หรือมีความสงบ ? ตรงนั้นเป็นตัวบอกว่าสภาพ จิตใจเราเป็นยังไง หรือเมื่อตามกาหนดรู้อาการเกิดดับของพองยุบไปเรื่อย ๆ แล้วจิตเรารู้สึกผ่องใสขึ้น ว่างมากขึ้น เบามากขึ้น นิ่งมากขึ้น หรือเปล่า ? อันนี้คือผลที่ตามมา
ผลที่เกิดขึ้นตรงนี้เพราะอะไร ? การที่เรามีเจตนาตามรู้อาการเกิดดับ ของพองยุบ และเรามีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน สมาธิก็จะเกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ ที่เขาเรียกว่า “ขณิกสมาธิ” แม้การตามรู้ชั่วขณะหนึ่ง ๆ แต่ละขณะ แต่ละ


































































































   281   282   283   284   285