Page 285 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 285

261
ค่อย ๆ หายไป บางคนจะรู้สึกว่า พอดูแล้ว อ้าว! แขนหาย ตัวหาย หรือ ว่าหัวหาย ที่จริงก็คือการละบัญญัติ เขาเรียกว่า “จิตเราเพิกบัญญัติ” ไม่ติด ความเป็นรูปร่างความเป็นกลุ่มก้อน พอรู้ตรงไหนเขาก็หายไป ว่างไป เลือน ไป เหมือนรูปนี้สลายไป ส่วนอารมณ์ปรมัตถ์ที่แสดงอาการพระไตรลักษณ์ ไม่มีรูปร่าง ไม่เป็นกลุ่มก้อน ไม่เป็นเรื่องราว แต่แสดงอาการเกิดดับอยู่ เนือง ๆ อันนี้คือการกาหนดรู้กายในกาย
และการกาหนดรู้กายในกายอีกอย่างหนึ่ง ท่ีบอกว่านอกจากเห็นว่า เขาไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลง เกิดดับอยู่เสมอแล้ว สังเกตดูว่า จิตที่ทา หน้าที่รู้หรือสติที่ทาหน้าที่กาหนดรู้กับอาการ เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน กัน ? เป็นคนละส่วน ขณะที่เห็นเป็นคนละส่วน ลองสังเกตดูว่า มีส่วนไหน บ้างที่บอกว่าเป็นเรา ? ตัวบอกว่าเป็นเราหรือเปล่า ? จิตหรือสติที่ทาหน้าที่ รู้เขาบอกว่าเป็นเราหรือเปล่า ? หรือเป็นแต่เพียงผู้รู้ มีแต่ “สติ” กาหนดรู้ เท่านั้น ? มีแต่ “จิต” ที่ทาหน้าที่รู้กับอารมณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นอาการ กระเพื่อม อาการเคลื่อนไหว หรือมีอาการเกิดดับอย่างใดอย่างหนึ่งปรากฏ ขึ้นมา ก็มีแค่ “สติ” ตามกาหนดรู้เท่านั้นเอง
ทีนี้ ถามต่อไปว่า เมื่อเห็นอาการของรูปนามในลักษณะอย่างนี้แล้ว ควรเข้าไปยึดเอาว่าเป็นของเราหรือเปล่า ? เราต้องพิจารณาดูว่า ถ้าเรายึด ว่าเป็นของเราเมื่อไหร่ จะเป็นอย่างไร ? อันนี้เราพิสูจน์ได้ ธรรมะที่บอกว่า เอาความรู้สึกที่เป็นเราออก จิตใจเป็นอย่างไร ? เติมความรู้สึกว่าเป็นเรา เข้าไป รู้สึกอย่างไร ? นี่คือการดับความเป็นตัวตน เมื่อเราเห็นว่ารูปไม่เที่ยง เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป รูปไม่บอกว่าเป็นเรา จิตที่ทาหน้าที่รู้ไม่บอกว่าเป็นเรา เราเห็นจริง ๆ เรารู้สึกได้จริง ๆ ว่าเป็น อย่างนั้น ตรงนี้แหละเขาเรียก “เห็นตามความเป็นจริง” ไม่ใช่เห็นตามความ คิด แต่เห็นตามความจริง เกิดจากการพิจารณา เกิดจากการกาหนดรู้ หรือ เกิดจากการสังเกตของเรา ตรงนี้เรียกว่า “ปัญญา”


































































































   283   284   285   286   287