Page 284 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 284

260
ขณะ สมาธิก็จะปรากฏขึ้นมาในตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาต้องเกิด เพราะฉะนั้น การกาหนดรู้อารมณ์ที่เกิดขึ้น ที่บอกว่า “ดูกายในกาย” คือการตามรู้อาการ เกิดดับของอาการต่าง ๆ ที่อาศัยร่างกายเราเกิด
บางครั้งโยคีนั่งกรรมฐาน อาการพองยุบหายไป เหลือแต่ความว่าง ทีนี้ เมื่อรู้สึกว่าง ๆ จะกาหนดอะไร ? ให้สังเกตดูว่า “สภาพจิต” ขณะนั้น เป็นอย่างไร ? รู้สึกสงบ รู้สึกเบา รู้สึกว่าง ๆ รู้สึกโล่ง ๆ ? ดูเข้าไปในใจของ เรา ลึก ๆ แล้วรู้สึกอย่างไร ? เมื่อรู้สึกว่าง ๆ ให้ “นิ่ง” ในความว่าง แล้ว สังเกตว่าในความว่างนั้น มีอาการอะไรปรากฏขึ้นมาให้รับรู้ ? ลองสังเกตดู อาจจะมี “เสียง” ที่ปรากฏชัดเข้ามาในความว่างนั้น หรือมี “ความคิด” ปรากฏ เข้ามาในความว่างนั้น หรือมี “เวทนา” ปรากฏขึ้นมาในความว่างนั้น ในขณะ ที่พองยุบหายไป ให้เราสารวจตรงนี้ก่อน
ถ้าสารวจแล้ว ไม่มีอารมณ์ไหนเลยที่ปรากฏชัดในความรู้สึกที่ว่าง หรือจิตที่ว่าง ให้เพิ่ม “ความนิ่ง” แล้วสังเกตลงไปในจิตที่ว่างในความรู้สึก ที่ว่างนั่นแหละว่า ลึก ๆ แล้วเขายังมีอาการเปลี่ยนแปลง มีอาการเกิดดับ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่หรือเปล่า ? ต้องสังเกตให้ดี สภาวะที่เป็นสภาวะปรมัตถ์ ไม่มีรูปร่างแต่สามารถรู้สึกได้ สิ่งหนึ่งที่เราต้องสังเกตก็คือ ในความว่างที่ เกิดขึ้น สภาพจิตใจเรารู้สึกยังไง ? รู้สึกโล่ง ๆ ว่าง ๆ ? และอีกอย่างหนึ่งก็ คือว่า รู้สึกสว่าง หรือมืดสนิท หรือสลัว ๆ ? อาการเหล่านี้เป็นอารมณ์ของ จิตเราทั้งสิ้นที่เราสามารถกาหนดรู้ได้ เมื่อเราพิจารณาอย่างนี้จะมีสภาวะให้ เราได้กาหนดอย่างต่อเนื่อง การที่เราพิจารณารู้ถึงอาการที่ปรากฏในความ ว่าง เขาเรียก “มีอารมณ์ที่เป็นรูปละเอียด” ปรากฏขึ้นมาให้เราได้รับรู้ ซึ่ง เป็นรูปปรมัตถ์
และเมื่อกาหนดรู้ถึงอาการเกิดดับแล้ว “ผลที่ตามมา” เราจะต้องรู้ว่า เมื่อกาหนดรู้อย่างนี้แล้ว สภาพจิตใจเป็นอย่างไร ? และเมื่อเห็นความไม่เที่ยง ของรูป อย่างเช่น บางครั้งเราจะเห็นว่ารูปนี้ค่อย ๆ สลาย ค่อย ๆ เลือน


































































































   282   283   284   285   286