Page 286 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 286

262
“สัมมาทิฏฐิ” รู้ชัดว่ารูปนามเป็น “คนละส่วนกัน” รู้ชัดว่ารูปนาม มีการ “เกิดดับอยู่ตลอดเวลา” เป็นของไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้ว หายไป นี่คือการพิจารณารู้กายในกาย เมื่อพิจารณาอย่างนี้แล้ว รู้สึกไหมว่า จิตเราคลายจากอุปาทาน คลายจากการยึดมั่นถือมั่นว่ารูปเป็นของเรา ตรงที่ “คลายจากความยึดมั่นถือมั่น” เป็นอย่างไร ? “ลักษณะของจิตที่ไม่ เข้าไปยึดมั่นถือมั่นกับรูปอันนี้” เป็นอย่างไร ? รู้สึกอย่างไร ? โล่ง ๆ ว่าง ๆ เบา ๆ นี่คือลักษณะของจิตที่ไม่เข้าไปยึดมั่นถือมั่น เขาจะปรากฏขึ้นมา เพราะฉะนั้น เวลาเราปล่อยวางแล้ว จิตจะเป็นอย่างไรเรารู้สึกได้ ถ้าปล่อย วางได้จริง
แต่บางครั้งเมื่อมีอารมณ์เข้ามากระทบทางทวารทั้ง ๖ ได้ยิน ได้เห็น มีการสัมผัส รู้รส รู้กลิ่น แล้วเกิดมีตัวตนขึ้นมา มีความรู้สึกว่าเป็นเราเกิด ขึ้น เราควรทาอย่างไร ? เราก็ต้องพิจารณาว่า อารมณ์ที่เข้ามากระทบทาง ทวารทั้ง ๖ ของเรา ให้คุณหรือให้โทษกับเรา ? ถ้าให้คุณ อย่างเช่น เสียง ของธรรมะ เราควรทาอย่างไร ? น้อมเข้ามาใส่ตัว ฟัง ทาความเข้าใจ เพื่อ ที่เรานาไปปฏิบัติได้ แต่ถ้าเป็นเสียงที่ไม่พึงปรารถนา เสียงที่ก่อให้เกิดความ หงุดหงิดราคาญ เสียงที่พอเข้ามากระทบแล้วใจเรารู้สึกไม่ดี ในเมื่อเราห้าม เสียงนั้นไม่ให้เกิดไม่ได้ สิ่งที่เราต้องทาก็คือ “ดับที่ใจ” ของเรา ดับความรู้สึก ไม่พอใจ ดับความรู้สึกราคาญ
เพราะฉะนั้น สังเกตง่าย ๆ ว่า เมื่อไหร่ก็ตามที่รู้สึกราคาญเกิดขึ้น ถามว่า มีตัวตนไหม ? มีความรู้สึกว่าเป็นเราหรือเปล่า ? จิตเราขณะนั้นรู้สึก กว้างหรือแคบ ? วิธีแก้ก็คือ ดับความรู้สึกว่าเป็นเรา เอาความรู้สึกว่าเป็นเรา ออก หรือให้จิตเรากว้างกว่าเสียงที่ได้ยิน เขาเรียก “แยกรูปแยกนาม” เสียง เป็นรูป จิตที่ทาหน้าที่รู้เป็นนาม แค่ให้จิตเรากว้างกว่าเสียง ความราคาญก็ จะหายไป ต่อไปก็จะกลายเป็นว่า เสียงก็สักแต่ว่าเสียง ที่เราได้ยิน เกิดขึ้น แล้วดับไป


































































































   284   285   286   287   288