Page 288 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 288

264
เรื่องอะไร
การพิจารณาดูกายในกาย เราก็จะเห็นจิตเราด้วย ไม่ใช่แค่รู้ว่า
กายทุกข์ กายร้อน กายเย็น กายปวด... ตรงที่รู้สึกปวด เมื่อย ชา คัน เคร่ง ตึง ที่เกิดขึ้นกับร่างกาย อันนั้นจัดเป็น “เวทนา” จัดอยู่ใน “เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน” เขาเรียก “การดูเวทนาในเวทนา” การพิจารณาเวทนาในเวทนา เวทนาก็มีอยู่ ๒ ส่วน หนึ่ง เวทนาทางกาย ที่มีอาการเจ็บ ปวด เมื่อย ชา คัน อาการเคร่งตึง หนัก อีกอย่างหนึ่งก็คือ เวทนาทางใจ คือ รู้สึกโล่ง โปร่ง ว่าง เบา มีความสุข เฉย ๆ ถ้าเป็นภาษาธรรมก็บอกว่า รู้สึกสุข ทุกข์ อุเบกขา โทมนัส โสมนัส ก็คือรู้สึกดีไม่ดี รู้สึกสบายใจ รู้สึกหดหู่ ห่อเหี่ยว นั่นคือ ลักษณะของเวทนาทางจิตที่เกิดขึ้น ถ้าย่อให้สั้นก็คือ ลักษณะของความทุกข์ หรือสุข ที่เกิดขึ้นกับจิตของเรา
อย่างเวลาเรานั่งกรรมฐานแบบนี้ แน่นอน เจอทุกคนแหละเวทนา ใช่ ไหม ? นั่ง พอจะใกล้หนึ่งชั่วโมง เริ่มมาแล้ว! บางที ๓๐ นาทีก็เริ่มมีแล้ว ปวดหลังบ้าง ปวดไหล่บ้าง ปวดขาบ้าง ปวดที่จุดกระทบบ้าง บางคนก็จะ ปวดหัวบ้าง นั่นคือจัดเป็นเวทนา บางทีเราสงสัยว่า เวทนาที่เกิดขึ้น เกิด จากอะไร ? เกิดจากกิเลสของเราหรือเปล่า ? เกิดจากความเครียดของ เราหรือเปล่า ? หรือเกิดจากสภาวธรรม ? อันนี้ต้องสังเกต เพราะเรานั่ง อยู่ในอิริยาบถเดียวนาน ๆ เวทนาทางกายก็ปรากฏ ซึ่งเป็นธรรมชาติของ รูปเรา
เราจะได้ประโยชน์จากการกาหนดเวทนาอย่างไร ? การตามรู้เวทนา ในเวทนามีอยู่สองส่วนก็คือ เวทนาทางกายกับเวทนาทางใจ เวทนาทางกาย เมื่อมีความปวดเกิดขึ้น สิ่งที่ต้องทาเริ่มแรกคือ ให้สังเกตว่า “ความปวดที่ เกิดขึ้นกับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน” อันนี้คือสิ่งที่ ต้องกาหนดรู้ ไม่ใช่แค่คิดว่ามันต้องเป็นคนละส่วนกัน ถ้า “คิด” นั่นหมาย ถึงว่าเรา “ไม่เห็น” แต่เป็นการอนุมานหรือตรรกะ เมื่อเป็นการอนุมานหรือ


































































































   286   287   288   289   290