Page 289 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 289

265
ตรรกะ สภาวธรรมที่บอกว่า “เวทนาไม่เที่ยง” ก็จะไม่ปรากฏชัดในความ รู้สึกเรา รู้แต่ว่ามีเวทนามีความปวดเกิดขึ้น หายไปตอนไหนไม่รู้ เกิดตอน ไหนก็ไม่เห็น รู้แต่ว่ามีความปวด พอขยับก็หายไป เผลอก็หายไป เรียกว่า ไม่เห็นอาการเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไปของเวทนา
เราพิจารณากาหนดรู้ถึง “ความเป็นคนละส่วน” ระหว่างจิตที่ทาหน้าที่ รู้หรือสติที่กาลังกาหนดอยู่กับเวทนา ที่ต้องสังเกตอย่างนี้เพื่ออะไร ? เพื่อเรา จะได้รู้หรือเห็นตามความเป็นจริงของขันธ์ของเราที่เรียกว่า “เวทนาขันธ์” จิต ที่ทาหน้าที่รู้ก็คือ “วิญญาณขันธ์” ถามว่า เป็นอะไร ? เวทนาจัดเป็นนาม จิตก็จัดเป็นนาม เราจะได้แยกนามกับนาม แยกให้รู้ว่าความปวดที่เกิดขึ้น กับจิตที่ทาหน้าที่รู้ เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน อันนี้อย่างหนึ่ง และจะได้เห็นว่าเวทนาที่เกิดขึ้นนั้น มาบีบคั้นจิตของเราให้เศร้าหมองหรือ เปล่า ? หรือเวทนาก็สักแต่เวทนา ?
เวทนาทางกายก็ส่วนหนึ่ง เวทนาทางจิตก็ส่วนหนึ่ง ถ้าเวทนาทางกาย ทาให้ใจเราเศร้าหมอง สังเกตดูว่า ขณะนั้นเรามีตัวตนหรือเปล่า ? ความเศร้า หมองคืออะไร ? กิเลส ใช่ไหม ? กิเลสจะเกิดขึ้นได้ก็อาศัยความมีตัวตน คือความมีเรา เมื่อมีความรู้สึกว่าเป็น “เรา” เกิดขึ้น ความชอบไม่ชอบก็ เกิดขึ้นทันที แต่ถ้า “ไม่มีเรา” ก็จะมีแต่ความรู้สึกว่าดีหรือไม่ดี เพราะฉะนั้น จึงต้องให้กาหนดรู้ว่า จิตที่ทาหน้าที่รู้กับเวทนาที่เกิดขึ้น เป็นส่วนเดียวกัน หรือคนละส่วนกัน
ต่อไปเราก็จะได้พิจารณาถึงสัจธรรมความเป็นจริงของเวทนา ที่บอก ว่า “เวทนาไม่เที่ยง” เป็นอย่างไร ? “เวทนาที่เป็นทุกข์” เป็นอย่างไร ? ทุกข ลักษณะ คือหมายถึงว่าเกิดขึ้นแล้วต้องดับไป ตั้งอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ เราไปรู้ว่าความปวดที่เกิดขึ้นมา ที่ตั้งอยู่นี้ เขามีลักษณะอย่างไร ? นิ่ง ๆ หรือ มีอาการเดี๋ยวหนักเดี๋ยวเบา เดี๋ยวหนักเดี๋ยวเบา หรือ ปวดขึ้นมาแล้วก็ จางหาย เดี๋ยวแปล๊บ หาย หรือ ปวดขึ้นมาแล้วก็กระจายไป แล้วก็หายไป...


































































































   287   288   289   290   291