Page 291 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 291

267
อานิสงส์จะเกิดขึ้น ตอนที่ร่างกายของเรายังแข็งแรงและทนได้ สติมีกาลัง พอที่จะกาหนดได้นั้น ฝึกเอาไว้! เมื่อถึงเวลาสุดท้าย เมื่อมีเวทนาเยอะ ๆ จิตจะคลายจากอุปาทานโดยอัตโนมัติ จิตเขาจะปล่อยวางได้ง่าย ไม่ไปเกาะ เกี่ยวกับเวทนานั้นจนเกิดความเศร้าหมอง เมื่อถึงเวลาหนึ่งที่เราจะบ๊ายบาย จากโลกนี้ไป เวทนาจะเกิดขึ้น แล้วเราทายังไงถึงจะไม่ทุกข์กับเวทนา หรือ เวทนานั้นไม่บีบคั้นให้จิตเราเกิดความเศร้าหมอง อันนี้การดูเวทนาในเวทนา นี่คือการพิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้น แต่ต้องมี “เจตนา” นะ
สภาวธรรมที่เกิดขึ้น อาจารย์พูดแบบกว้าง ๆ เขาอาจจะต่างจากนี้ก็ได้ แต่สิ่งที่แน่นอนก็คือ “ความไม่เที่ยง” เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป ลักษณะของ อาการเกิดดับของรูปนามที่เกิดขึ้นนั้น เราจะเห็นขณะเกิด ขณะตั้งอยู่ หรือ ขณะดับไป สังเกตไหม บางครั้งเวลาเราตามรู้อาการต่าง ๆ ดูอาการพองยุบ บางทีก็เห็นแต่พองอย่างเดียว ยุบไม่เห็น พองแล้วก็หาย พองแล้วก็หาย... บางทีก็เห็นแต่ยุบอย่างเดียว ยุบแล้วหาย ยุบแล้วหาย... ไม่เห็นตอนพอง
อาการลมหายใจของเราก็เหมือนกัน บางครั้งเห็นแค่อาการเกิดกับ ตั้งอยู่ แต่ไม่เห็นตอนดับ นี่คือลักษณะของสภาวะที่จะปรากฏให้เราได้เห็น แต่ทั้งหลายทั้งปวงอยู่ที่ “เจตนา” ของเรา ต้องตั้งใจที่จะกาหนดรู้จริง ๆ การ ปฏิบัติธรรมต้องมีความเพียร เพียรที่จะกาหนดรู้ เพียรที่จะเจริญสติ กาหนดรู้อาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ว่ามีการเปลี่ยนแปลงหรือเกิดดับในลักษณะ อย่างไร ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถหลักหรืออิริยาบถย่อยก็ตาม ให้มีสติกาหนด รู้ว่าเขาเป็นอย่างไร
เวทนาทางจิตเป็นอย่างไร ? อย่างที่บอกว่ารู้สึกไม่สบาย รู้สึกเป็น ทุกข์ รู้สึกหดหู่ ห่อเหี่ยว รู้สึกมีความสุข รู้สึกนิ่มนวลอ่อนโยน รู้สึกเบิกบาน นั่นคือเวทนาทางจิต ทีนี้ เมื่อมีเวทนาทางจิตเกิดขึ้น เราควรกาหนดรู้ อยา่ งไร ? ไมว่ า่ จะเปน็ เวทนาทางกายหรอื ทางจติ กต็ งั้ อยใู่ นกฏของไตรลกั ษณ์ อย่างเดียวกัน คือเกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป แม้แต่ความสุขที่เกิดขึ้น ความ


































































































   289   290   291   292   293