Page 292 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 292

268
สุขก็ไม่เที่ยง ไม่ใช่ห้ามความสุขเกิด แต่ความสุขก็ไม่เที่ยง แล้วความทุกข์ล่ะ เที่ยงไหม ? ก็ไม่เที่ยงเหมือนกัน
เพราะฉะนั้น เมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้น มีสติเข้าไปกาหนดรู้ ความ ทุกข์ที่เกิดขึ้นมาเขาดับอย่างไร ? ความทุกข์ที่เกิดขึ้นมา ถ้าดับได้เร็วเท่าไหร่ ยิ่งดี ที่บอกวิธีดับทุกข์ ดับได้แล้วนะ ? อย่างเมื่อคืนที่บอกว่า นึกถึงเรื่อง ที่ไม่สบายใจ แล้วจิตใจรู้สึกเป็นยังไง ? อึดอัด รู้สึกหนัก นั่นคือลักษณะ ของเวทนาทางใจ เพราะฉะนั้น เวลาเราดับ ก็ดับที่ใจ คิดให้มันดับได้ไหม ? ถ้าคิดได้ก็ดี บางครั้งเราคิดจะดับความทุกข์ ใช้ความคิดให้ดับ ดับ ดับ ดับ ดับ... เขาก็ไม่ยอมดับเสียที! แสดงว่าเราทาไม่ถูก แค่มี “ความอยาก” ที่จะ ดับ แต่ดับไม่ถูกวิธี เขาก็ไม่ดับ
วิธีที่จะให้ความทุกข์ดับไป ก็อย่างที่บอกแล้วว่า ความทุกข์อาศัย “ความรู้สึกว่าเป็นเรา” อาศัย “ตัวตน” เกิด เพราะฉะนั้น วิธีดับคือ “ดับ ความรู้สึกว่าเป็นเรา” เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออกอย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่งก็ คือ “ขยายจิตของเราให้กว้างออก” ความทุกข์ก็จะหายไป พอความทุกข์หาย เวทนาทางจิตตัวไหนเกิด ? พอความทุกข์หายไป จิตเราก็จะรู้สึกว่าง รู้สึก สงบ รู้สึกนิ่ง หรือเฉย ๆ เขาเรียก “อุเบกขาเวทนา” หรือมีความสุขเกิดขึ้น มีความสบายใจลึก ๆ เกิดขึ้น ที่เรียกว่า “โสมนัสเวทนา” นั่นคือเวทนา ทางจิต
เพราะฉะนั้น เวลาปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์อะไร ไม่ว่าจะเป็น สภาวะไหนเกิดขึ้น จึงต้อง “รู้ชัด” ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ภายในหรืออารมณ์ ภายนอก เป็นอาการของรูปหรือเป็นอาการของนาม ก็ต้องรู้ว่าเขาเกิดแล้ว ดับอย่างไร นี่คือเวทนาทางจิตเรา ความสุขที่เกิดขึ้น ไม่ต้องกลัวว่าจะติด ถ้าใครเอาความสุขติดตัวไปได้ทุกวัน ถือว่าเก่งมาก ๆ ไม่ต้องกลัวติดสุข หรอก เราแสวงหาแต่ความสุขกันทั้งนั้นแหละ อยากจะให้ความสุขอยู่กับ ตัวอยู่กับใจเรา แต่ว่ามันอยู่ได้ไม่นาน เพราะความสุขตั้งอยู่ได้ไม่นาน


































































































   290   291   292   293   294