Page 294 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 294

270
ไม่มีเราก็สุขได้! ไม่มีเราไม่จาเป็นต้องแห้งแล้ง ลองเอาใจที่เป็นสุข มาไว้ที่หน้า หน้าตาตัวเองรู้สึกเป็นยังไง ? หน้าตาผ่องใส รู้สึกเบิกบาน รู้สึก ผ่องใส ไม่ห่อเหี่ยว แต่งจิตแล้วก็แต่งกาย เราแต่งแต่กาย ไม่แต่งจิต หน้าตา ก็ห่อเหี่ยว หดหู่ ดูไม่มีชีวิตชีวา ทาให้โลกนี้ไม่น่าอยู่ ถ้าเรามีความสุข โลกนี้ ก็งดงามสาหรับเรา ดูอะไรก็ดี ดูอะไรก็งดงาม แต่ไม่ใช่หลงในโลก ไม่ใช่ ยึดติดกับความสวยงาม แต่เป็นเพราะจิตเรามีความงดงามหรือมีความสุข โลกนี้ก็จะเป็นอะไรที่สวยงาม
และที่บอกว่าไม่ให้ติดในสุข ความสุขตรงนี้ยังมี “การเปลี่ยนแปลง” อยู่ เมื่อมีความสุขเกิดขึ้น ให้มีสติเข้าไปดูในความสุขที่มีอยู่แล้วว่าเขา เปลี่ยนยังไง ? ความสุขที่เกิดขึ้นมีความละเอียดประณีตยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีกหรือ เปล่า ? นี่คือสิ่งที่เราต้องสังเกต ถ้าเราเห็นความเปลี่ยนแปลงตรงนี้ เราก็จะ ไม่ติดในความสุข เพราะความสุขไม่เที่ยง ไม่ใช่สุขแล้วทุกข์ สุขแล้วทุกข์ สุขแล้วทุกข์... แต่ความสุขก็ยังมี “ความประณีต” ที่แตกต่างกันออกไป นี่ คือการดูเวทนาทางจิตของเรา จิตที่มีความละเอียดที่ประณีตมากขึ้น จากที่ หยาบ ๆ ก็กลายเป็นคนที่มีจิตใจที่ละเอียดอ่อนมากขึ้น วิถีจิตหรือลักษณะ ของจิตที่เปลี่ยนไป เราจะเห็นได้เราต้องรู้ที่จิตหรือดูที่จิต ไม่ใช่ “คิดว่า” แต่ ต้อง “เห็นว่า” เป็นอย่างไร นี่คือการดูจิต
กลับเข้ามาสู่การดูจิตในจิต ดูเข้าไปในความสุข แล้วลองดู ความสุข เรายิ่งกว้างยิ่งละเอียดมากขึ้นหรือเปล่า ? การพิจารณาดูจิตในจิตก็คือ อย่างนี้ ที่บอกว่า “ดูจิตในจิต” มีอยู่ ๓ ส่วนด้วยกัน หนึ่ง รู้ว่าจิตใจเป็น อย่างไร ? รู้สึกหนัก รู้สึกเบา มีความสุข มีความสงบ อันนี้อย่างหนึ่ง อีก อย่างหนึ่งก็คือว่า รู้ว่าคิดอะไร ? คิดเรื่องอะไร ? อันนี้คือรู้บัญญัติ แต่ถ้ารู้ ว่า ความคิดที่เกิดขึ้น เกิดดับในลักษณะอย่างไร ? อันนี้คือรู้อย่างวิปัสสนา รู้อาการเกิดดับของความคิดที่เกิดขึ้น และอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า แม้แต่จิตที่ ทาหน้าที่รู้อารมณ์ต่าง ๆ หรือใจรู้ เขามีอาการรู้แล้วดับไป แล้วเกิดมารู้ใหม่


































































































   292   293   294   295   296