Page 295 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 295

271
แล้วดับไปใหม่หรือเปล่า ? นี่คือสิ่งที่ต้องสังเกตรู้
ที่ว่าดูจิตในจิต หนึ่ง รู้ว่า “จิตใจเป็นอย่างไร ?” ที่เรียกว่า “สภาพ
จิต” รู้สึกนิ่มนวลอ่อนโยน ว่าง เบา สงบ หดหู่ เป็นทุกข์ และ “รู้ว่าคิด อะไร ? ความคิดที่เกิดขึ้นเกิดดับในลักษณะอย่างไร ?” และ “จิตที่ทาหน้าที่ รู้เอง เกิดดับในลักษณะอย่างไร หรือเกิดดับด้วยหรือไม่ ?” นี่คือสิ่งที่ นักปฏิบัติจะต้องสังเกต ต้องพิจารณา อันนี้เป็นสภาวะที่ละเอียดนะ อาจ จะอาศัยเวลานิดหนึ่ง วันนี้ยังไม่เห็น วันต่อ ๆ ไปอาจจะเห็นก็ได้
“สภาวธรรม” คืออะไร ? สภาวธรรม คือ อาการของรูปนามที่ ปรากฏขึ้นมาในขณะที่เรามีสติ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ก็ คือสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ธรรมารมณ์ที่เกิดกับใจ อะไรบ้างที่เกิดกับใจของ เรา ? อย่างที่กล่าว ไม่ใช่เฉพาะความคิดที่เกิดกับใจของเรา รู้สึกดีไม่ดี เป็น ทุกข์เป็นสุข หนัก เบา เย็น ร้อน อ่อน แข็ง เคร่งตึง ก็คืออาการของรูปนาม นั่นเอง ทีนี้ การดูธรรมในธรรม สภาวธรรมที่เกิดขึ้นเขามีการเปลี่ยนแปลง เกิดดับอย่างไร ? การกาหนดรู้อย่างนี้แหละที่จะทาให้เราคลายจากอุปาทาน เพราะอะไร ?
โดยธรรมชาติของจิตคนเราจะไม่ชอบเกาะเกี่ยวอยู่กับของไม่เที่ยง ไม่ชอบเกาะเกี่ยวอยู่กับของเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ สังเกตว่า อะไรที่เปลี่ยน บ่อย ๆ เราจะรู้สึกราคาญ ใช่ไหม ? เดี๋ยวก็เปลี่ยน เดี๋ยวก็เปลี่ยน เดี๋ยวก็ เปลี่ยน... อยู่เรื่อย ๆ หงุดหงิด ราคาญ ไม่ชอบ แต่อะไรที่แช่อยู่นาน ๆ เรา ก็จะมีความสุข เพราะฉะนั้น เวลาปฏิบัติ เมื่อไหร่ฉันจะสงบสักที จะได้แช่ อยู่กับความสงบนาน ๆ สบาย... พอเรานั่งแช่อยู่กับความสงบนาน ๆ รู้สึกดี ที่จริงก็คือ “ติด” นั่นเอง ใช่ไหม ? แต่ถ้ารู้สึกว่าสงบ แล้วสังเกตอาการ เกิดดับของรูปนามที่เกิดขึ้น ต่อไปแม้ในอิริยาบถย่อย จิตเราก็จะรู้สึกว่าง ได้เหมือนกัน จิตเราก็จะรู้สึกอิสระ รู้สึกว่าง ไม่เกาะเกี่ยวกับอารมณ์ที่ เกิดขึ้น


































































































   293   294   295   296   297