Page 296 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 296

272
แต่เมื่อเรายังเป็นผู้ฝึกอยู่ จึงต้องมี “อารมณ์หลัก” ให้เราตามรู้ กาหนดรู้ การฝึกต้องมีหลัก ไม่ใช่ว่ารู้ได้เหมือนกับคนที่ชานาญแล้ว ไม่ใช่ จะรู้ได้เหมือนกับคนที่เขาคล่องแคล่ว ที่เป็นปกติ ที่เป็นธรรมดา ที่เป็น ธรรมชาติของเขาแล้ว เขารู้ยังไงก็ได้ แต่ในเมื่อเรายังเป็นผู้ฝึกอยู่ ก็ต้องมี อารมณ์หลักให้กับจิต ในแต่ละขณะ ในแต่ละบัลลังก์ อารมณ์หลักของเรา ก็จะเปลี่ยนไป จากที่เคยกาหนดพองยุบ อาจจะเปลี่ยนมาเป็นเวทนา หรือ อาจจะมีแสงขึ้นมาให้เราได้ตามรู้ แสงสีที่เกิดขึ้นก็คืออาการของรูปนั่นเอง ถ้าจิตไปรู้อาการที่เกิดขึ้นแล้วจิตเราดับไปด้วย ก็คือ “เห็นอาการเกิดดับของ รูปนาม”
วันนี้ที่แสดงเรื่องสติปัฏฐาน ๔ ก็คิดว่าโยคีคงจะมีความเข้าใจ มากขึ้นในการปฏิบัติธรรม ในการกาหนดพิจารณาสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ก็ ให้เราได้นาไปพิจารณา ขอฝากอีกนิดหนึ่งว่า ที่อาจารย์พูดมา ถ้ายังไม่ตรง กับสภาวะที่เราเป็นหรือไม่เห็น ก็ไม่ต้องพยายามหานะ ให้รู้อารมณ์ปัจจุบัน ที่กาลังเกิดขึ้นอยู่เฉพาะหน้าเราเป็นหลัก ต่อไปก็จะเป็นไปเอง ถ้าเราไปหา ว่า เอ! อาจารย์พูดว่ามันเป็นอย่างนี้ มันจะเกิดตอนไหน แล้วไปพยายาม บังคับ ไม่ต้องนะ!
แล้วอีกอย่างหนึ่งก็คือว่า การกาหนดอารมณ์ การปฏิบัติ ถ้าเราบังคับ หรือตั้งใจจนเกินไป ก็จะทาให้เกิดความอึดอัด เกิดอาการปวดหัว วิธีก็คือ ให้ถอยออกมา แล้วมีสติกาหนดรู้ รู้ในสิ่งที่เขาเป็น ตามรู้ไปเรื่อย ให้รู้ให้ชัด แต่ไม่ต้องบังคับให้อารมณ์นั้นชัด ความแตกต่างก็คือว่า เรารู้ชัดในสิ่งที่เขา เป็น ไม่ใช่บังคับให้เขาชัด อย่างเช่น อาการบางอย่างจะเบา ๆ บาง ๆ ก็รู้ชัด ว่าเขาเบาบาง ไม่ใช่บังคับให้เขามีความหนาแน่นหรือให้เขารุนแรง รู้ชัดในสิ่ง ที่เขาเป็น รู้ชัดในสิ่งที่เห็น ไม่ใช่บังคับให้ชัดขึ้นมา
อาจารย์พูดข้ามไปนิดหนึ่ง วิธีหาความสุขแบบง่าย ๆ ต้องมี “ฉันทะ” ก็คือว่า “ให้รู้จักพอใจในความไม่ทุกข์ของเรา” เคยเห็น “ความไม่ทุกข์” ของ


































































































   294   295   296   297   298