Page 287 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 287

263
ถ้าจะให้ดีขึ้นอีก แทนที่เราจะปฏิเสธเสียง ให้มีสติกาหนดรู้อาการ เกิดดับของเสียงนั้นเสีย เอาเสียงนั้นมาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เอามาเจริญ วิปัสสนา ด้วยการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา พิจารณารู้อาการเกิดดับของเสียงนั้น ว่า เสียงที่เกิดขึ้นเขาเกิดดับในลักษณะอย่างไร ? เกิดขึ้นมาแล้วกระจาย หรือจางไป หรือแวบหาย แวบหาย แวบหาย...? สังเกตรู้อาการเกิดดับตรงนี้ ความราคาญก็จะหายไป หนึ่ง นอกจากไม่ราคาญไม่หงุดหงิดแล้ว สอง ได้ ปัญญา ได้เจริญสติด้วย ได้มีสมาธิด้วย คือถ้าเราไม่ปฏิเสธอารมณ์ ทุก ๆ อารมณ์เป็นอารมณ์ของการเจริญกรรมฐานได้
ถึงกล่าวไว้ว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ที่เกิดขึ้นเป็น อารมณ์ที่เราต้องกาหนดรู้ นั่นหมายถึงว่า ทุก ๆ อารมณ์ก็เป็นอารมณ์ กรรมฐานได้เมื่อเรามี “เจตนา” ที่จะกาหนดรู้ว่าเขาเกิดดับอย่างไร เพราะ อะไร ? การกาหนดรู้อาการเกิดดับของเสียงที่เกิดขึ้น จิตเราจะไม่เข้าไปปรุง แต่ง จะไม่มีความรู้สึกชอบหรือไม่ชอบ เพียงแต่รู้ว่าเสียงนั้นเกิดและดับ อย่างไร ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นไปอีก ขณะที่กาหนดรู้อาการเกิดดับของเสียง ให้จิต หรือสติอยู่ที่เดียวกับเสียง แล้วสังเกตว่า เวลาเสียงนั้นดับไปแต่ละขณะ จิต หรือสติที่เข้าไปรู้เสียงดับด้วยหรือไม่ ? เสียงที่อาจารย์พูดไป ลองสังเกตดู เอาสติเข้าไปไว้ที่เสียง เวลาเสียงดับ จิตเราดับด้วยไหม ?
การที่พิจารณาอย่างนี้นี่แหละ คือการใช้ “ปัญญา” ในการรับรู้อารมณ์ นอกจากไม่ปรุงแต่งแล้ว ยังได้ประโยชน์อีกต่างหาก นี่คือการเจริญวิปัสสนา อยู่ที่ “เจตนา” ของเราว่าจะไปรู้แบบไหน ถ้าเราจะไปรู้บัญญัติ คือรู้เรื่องราว ที่เกิดขึ้น บางอย่างจาเป็นต้องฟัง ฟังเสียงธรรมะ ถ้าอยากจาได้ ก็ให้ฟังแบบ ใจเรากว้างกว่าเสียง แล้วฟังเอาเรื่องราวนั้น แต่ถ้าจะฟังแล้วรู้อาการเกิดดับ ให้สติเราหรือจิตของเราไปอยู่ที่เดียวกับเสียง แล้วก็รู้อาการเกิดดับของเสียง ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่สติเราอยู่กับปัจจุบันจริง ๆ เราเห็นแค่อาการเกิดดับของ เสียง แต่จะฟังไม่รู้เรื่อง เพราะฉะนั้น อยู่ที่เจตนาของเราว่าเราจะรู้จุดไหน รู้


































































































   285   286   287   288   289