Page 282 - ธรรมปฏิบัติ 2
P. 282

258
ตามดูสภาวะในสติปัฏฐาน ๔ วันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๖
เจริญธรรมโยคีผู้ปฏิบัติธรรมทุก ๆ คน ขอให้นั่งตามสบายนะ นั่งฟัง ธรรมนั่งสบาย ๆ แล้วถ้าทาตามได้ก็ทา ถ้าทาตามไม่ทันก็ไม่เป็นไร หลังจาก ที่ได้สอบอารมณ์มาวันหนึ่ง รู้สึกว่าโยคีเริ่มมีความเข้าใจในวิธีการปฏิบัติมาก ขึ้น ทีนี้จะพูดทบทวนอีกครั้งหนึ่งในวิธีการปฏิบัติหรือการกาหนดอารมณ์ ที่ปรากฏขึ้นมาในขณะที่เราปฏิบัติธรรมอยู่นี้ สติปัฏฐาน ๔ ที่เราต้องมีสติ กาหนดรู้ ที่เป็นอารมณ์หลัก ๆ เลยก็คือ ดูกายในกาย ดูเวทนาในเวทนา ดู จิตในจิต และ ดูธรรมในธรรม เมื่อเช้าก็มีโยคีถามว่า การกาหนดรู้สติ- ปัฏฐาน ๔ นั้นเป็นอย่างไร ? การดูกายในกายเป็นอย่างไร ? การดูจิตในจิต เป็นอย่างไร ? การรู้เวทนาในเวทนานั้นทาอย่างไร ? ก็ได้อธิบายให้ฟังพอ สังเขป ทีนี้มาทบทวนอีกนิดหนึ่ง
การดูกายในกาย ก็มีอยู่ ๒ ส่วน กายอย่างหนึ่ง คือร่างกายของเราเอง อาการของร่างกายทั้งหมด ทีนี้การดูกายในกาย ดูอย่างไร ? อาการของกาย อย่างหนึ่งที่ปรากฏ และแสดงให้เราได้รู้ ที่เป็นธรรมชาติจริง ๆ ที่ปรากฏให้ เรารับรู้อยู่เสมอ ก็คืออาการของพองยุบ อาการของลมหายใจเข้าออก อาการ ต่าง ๆ ที่เกิดภายในร่างกายของเรา ก็คืออาการของกาย ตั้งแต่ศีรษะลงไป อ า ก า ร อ ะ ไ ร ท ปี ่ ร า ก ฏ ข นึ ้ ม า ท บี ่ ร เิ ว ณ ร า่ ง ก า ย ข อ ง เ ร า ใ น ข ณ ะ ท เี ่ ร า เ จ ร ญิ ก ร ร ม ฐ า น นั่นคืออาการของกายทั้งสิ้น อาการของกายหรืออาการของรูป เรียกว่า “รูป” อย่างหนึ่ง ร่างกายจัดเป็นรูป ตัวที่ทาหน้าที่รู้คือ “สติ” หรือ “จิต” ของเรา
การตามรู้กายในกายเพื่ออะไร ? อันนี้สาคัญ เพื่อให้เห็นตามความ เป็นจริงของร่างกายอันนี้ว่าเป็นอย่างไร เพราะฉะนั้น หลักของวิปัสสนา กรรมฐานจึงให้พิจารณารู้ถึงความไม่เที่ยงของกายหรือของรูป รู้ถึงอาการ พระไตรลักษณ์ คืออาการเกิดดับของกายที่เกิดขึ้นมา อาการที่เกิดในกายที่


































































































   280   281   282   283   284